เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ไทย

        เอกสารประกอบการสอนรายวิชา  ศ31101  ศิลปะ 1      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

หน่วยการเรียนรู้ที่  2     ยลยินเอกลักษณ์ไทย          เรื่อง  นาฏศิลป์ไทย

…...........................................................................................................................................

 ( ที่มา :  1. เต็มศิริ   บุณยสิงห์ , เจือ  สตะเวทิน . การละครเพื่อการศึกษา  2. เอกสารประกอบการสอนวิชา  สุนทรียะทางนาฏศิลป์ไทย  สถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา  3. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย )

 

ความหมายของนาฏศิลป์

      นาฏศิลป์  หมายถึง  การละคร หรือ การฟ้อนรำ  เพื่อแสดงอารมณ์สะเทือนใจให้ผู้ชมเห็นสามารถแบ่งประเภทของนาฏศิลป์ไทยได้เป็น  4  ประเภท  ดังนี้

  1. มหรสพ  คือ  การแสดงที่เป็นเรื่อง  เช่น  โขน  ละคร  หุ่น  เป็นต้น
  2. ระบำ  รำ  ฟ้อน  คือ  การแสดงเป็นชุดสั้น ๆ อาจมีเนื้อเรื่องหรือไม่มีก็ได้
  3. การละเล่นของหลวง  คือ  การแสดงที่แสดงเฉพาะในพระราชพิธีของหลวง
  4. เพลงพื้นเมือง / การแสดงพื้นเมือง  คือ  การแสดงของแต่ละท้องถิ่น 

มหรสพ

 
1. โขน
           คือ    การแสดงที่วิวัฒนาการมาจากการแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์   หนังใหญ่  และ กระบี่กระบองโดยนำแบบอย่างการแต่งตัวมาจากชักนาคดึกดำบรรพ์   นำวิธีการเชิดหนังเป็นแบบของการเต้นโขน  และนำกระบวนท่า ลีลาการต่อสู้จากกระบี่กระบองมาเป็นลีลา  ท่าทางในการยกทัพสู้รบกันในการแสดงโขน

วิวัฒนาการการแสดงโขน

                1.  โขนกลางแปลง   คือ  การแสดงโขนกลางสนามกว้าง  โดยมีเตียงสำหรับผู้แสดงฝ่ายพลับพลาและกรุงลงกานั่งแสดง  2  เตียง  นิยมแสดงตอนยกทัพ  สู้รบกันเป็นส่วนใหญ่  มักแสดงในงานสมโภชน์ต่าง ๆ

07342ac6879fa7bc6626328f592525ea.jpg

             2.  โขนโรงนอก / นั่งราว  คือ  การแสดงโขนที่ปรับปรุงวิธีแสดงมาจากโขนกลางแปลง  โดยแสดงบนโรง  ซึ่งมีราวไม้กระบอกพาดตามส่วนยาวของโรง  สมมุติเป็นเตียงสำหรับผู้แสดงตัวสำคัญนั่ง  เช่น  ทศกัณฐ์  พระราม  เป็นต้น   มักแสดงในงานอวมงคล

ดาวน์โหลด (2).jpg

              3.  โขนหน้าจอ  คือ  การแสดงโขนบนเวที  หน้าจอหนังใหญ่ มีทางเข้าออกสำหรับผู้แสดงอยู่ด้านซ้ายและขวา  2 ทาง (ด้านซ้ายของคนดู คือ ฝ่ายธรรมมะ ด้านขวา คือ ฝ่ายอธรรม) โขนหน้าจอมักแสดงทั้งในงานมงคลและอวมงคล

images (15).jpg

              4.  โขนโรงใน  คือ  การแสดงโขนที่ปรับปรุงขึ้นอย่างละครใน  มีการร้องประกอบการแสดงและแสดงในโรงอย่างละครใน  จึงเรียกว่า  โขนโรงใน แต่ยังไม่มีฉากประกอบการแสดง  มักแสดงทั้งในงานมงคลและอวมงคล

ดาวน์โหลด (1).jpg

               5.  โขนฉาก  คือการแสดงโขนที่พัฒนาขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง  มีการสร้างฉากตามเนื้อเรื่อง  เช่น  เมื่อทศกัณฐ์ออกท้องพระโรงก็สร้างฉากเป็นท้องพระโรงกรุงลงกา  หรือสร้างฉากเป็นรูปพลับพลา
อยู่กลางป่าเมื่อพระรามออกแสดง  ฯลฯ เป็นโขนประเภทที่แสดงอยู่ในโรงละครในปัจจุบัน

images (13).jpg

ลักษณะเฉพาะในการแสดงโขน

                1. ผู้แสดงสวมหัวโขนยักษ์  ลิง  หรือสวมชฎา  มงกุฎ ( ตัวพระ  ตัวนาง )
                2. มีผู้พากย์  เจรจาแทนผู้แสดง พากย์จบแต่ละบทตะโพนจะตีท้า  กลองทัดตีรับและร้องรับด้วยคำว่า “ เพ้ย “

การแต่งกาย

                แต่งกายยืนเครื่องพระ  นาง  ยักษ์  ลิง

เครื่องดนตรี                                                                    

                ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า   วงปี่พาทย์เครื่องคู่  หรือ  วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่

เรื่องที่แสดง

         นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์  ซึ่งเป็นเรื่องราวการทำสงครามระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์  โดยมีจุดประสงค์นำเสนอคติเตือนใจแก่ผู้ชม  คือ  ธรรมะย่อมชนะอธรรม

การพากย์ – เจรจาในการแสดงโขน

                การพากย์    ในการแสดงโขนประพันธ์เป็นกาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง แบ่งเป็น 5 แบบ ได้แก่

                1. พากย์เมือง   เป็นบทพากย์ที่กล่าวถึงตัวแสดงที่ออกท้องพระโรง หรือ พลับพลา

( ปางนั้นทศเศียรราชา  สถิตเหนือมหา  สิงหาสน์พิมุขมณเฑียร........ )

                2. พากย์รถ  เป็นบทพากย์ที่กล่าวถึงการเดินทางของตัวแสดงโดยใช้พาหนะต่าง ๆ

( เสด็จทรงรถทรงสงคราม  แสงแก้วแวววาม  สว่างกระจ่างพร่างพราย........)               

                3. พากย์ชมดง  เป็นบทพากย์ที่กล่าวถึงการชมนก ชมไม้  ชมธรรมชาติ

( เค้าโมงจับโมงมองเมียง  คู่เคล้าโมงเคียง  เคียงคู่อยู่ปลายไม้โมง........)

                 4.พากย์โอ้  เป็นบทพากย์ที่แสดงความเศร้าโศก  รำพัน

( ผวาวิ่งประหวั่นจิต    ไม่ทันคิดก็โศกา       กอดแก้วขนิษฐา  ฤดีดิ้นอยู่แดยัน......)

                 5.พากย์เบ็ดเตล็ด  เป็นบทพากย์ที่ใช้บรรยายความต่าง ๆ  เช่น  ราชสาส์น  คำสอน ฯลฯ 

                การเจรจา  คือ  การพูดโดยใช้คำประพันธ์ประเภทร่ายยาว  แบ่งได้เป็น  2  แบบ  ได้แก่

                1. เจรจาทำนอง ใช้ในโอกาสที่ผู้แสดงอยู่ในอารมณ์โศกเศร้า คิดรำพึง บรรยายเนื้อเรื่องหรือบรรยายกิริยาอาการของผู้แสดง

            (ว่าพลางทางกราบถวายบังคมลาพระจักรี สำแดงแผลงอิทธิฤทธีขึ้นอัมพรตรงไปยังขีดขินนคร)

                2. เจรจากระทู้   ใช้ในการโต้ตอบกันของผู้แสดง หรือ อาจพูดคนเดียว

                ( พลางยกพระหัตถ์ดัชนีขึ้นชี้หน้าว่า เหม่ อ้ายหนุมาน  แลดูอยู่นานจนเต็มแปลก.........)

FB_IMG_1521087060676.jpg


FB_IMG_1521092173839.jpg

FB_IMG_1521092185212.jpg
FB_IMG_1521086996884.jpg 

 2. ละคร               

                ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ละคร หมายถึง การมหรสพอย่างหนึ่ง  เล่นเป็นเรื่องเป็นราวต่าง ๆ

วิวัฒนาการของละคร

                1. ละครชาตรี   เป็นละครที่เกิดก่อนละครชนิดอื่น ๆตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  แสดงเรื่อง  พระรถเสน และพระสุธน มโนราซึ่งเป็นเรื่องที่นิยมแสดงมากจึงเรียกกันอีกอย่างว่า โนราชาตรี ในการแสดงจะมีตัวละครเพียง 3 ตัว  คือ  ตัวนายโรง  ตัวนาง และตัวตลก 

hqdefault.jpg

                2. ละครนอก   เป็นละครที่พัฒนามาจากละครชาตรีโดยเพิ่มตัวแสดงให้มากขึ้น  ใช้ผู้ชายแสดงล้วน  ดำเนินเรื่องอย่างรวดเร็ว  มุ่งเน้นความสนุกสนาน  ตลกขบขัน  เรื่องที่แสดง คือ  ไชยเชษฐ์ สังข์ทอง  คาวี  ไกรทอง  สังข์ศิลปชัย  ยกเว้น  3  เรื่องที่ไม่แสดง  คือ  รามเกียรติ์  อิเหนา  อุณรุท

imagesCAN8OTO7.jpg

               
                 3. ละครใน  เป็นละครที่เน้นความสวยงาม  อ่อนช้อยของกระบวนการรำ  ตลอดจนบทร้องและดนตรี   เพราะเดิมเป็นการแสดงในเขตพระราชฐาน   ดำเนินเรื่องช้า   และใช้ผู้หญิงแสดงล้วน  เรื่องที่แสดงมีเพียง  3  เรื่อง  คือ  รามเกียรติ์  อิเหนา และอุณรุท

imagesCAEPS8ZG.jpg

                4.  ละครดึกดำบรรพ์  เป็นละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5  โดยนำแบบอย่างมาจากละครโอเปร่า  ลักษณะเด่น คือ  ผู้แสดงต้องร้องเองและรำเอง   แสดงครั้งแรกในโรงละครชื่อโรงละครดึกดำบรรพ์  จึงเรียกชื่อการแสดงละครนี้ตามชื่อของโรงละคร   เรื่องที่นิยมแสดง ได้แก่ อิเหนา  ตอน  ตัดดอกไม้ฉายกริช  ไหว้พระบวงสรวง  เรื่องคาวี  สังข์ทอง  สังข์ศิลปชัย

21767214_1589557707775076_172607463_o.jpg

                5.  ละครพันทาง  เป็นละครแบบผสม มีตัวละครหลายเชื้อชาติ  ใช้ท่ารำแบบไทยผสมกับท่าทางอย่างสามัญ   มีการเปลี่ยนฉากตามเนื้อเรื่อง   ผู้แสดงมีทั้งชายและหญิง    นิยมแสดงเรื่อง  ราชาธิราช  พระลอ  ไกรทอง  สามก๊ก

2010_06_28_19_40_38[1].jpg

                6.  ละครเสภา   เป็นละครที่พัฒนามาจากการขับเสภา    แสดงคล้ายละครพันทาง  นิยมแสดงเรื่อง  ขุนช้าง ขุนแผน  ไกรทอง

imagesCAEXZU54.jpg

                7.  ละครร้อง  ดำเนินเรื่องด้วยการร้อง  ผู้แสดงร้องเองสลับกับการพูดบ้าง  มีการรำและใช้ท่าทางอย่างสามัญประกอบการร้องและพูด  นิยมแสดงเรื่องสาวเครือฟ้า

lakonrong[1].jpg

                8.  ละครสังคีต  ดำเนินเรื่องด้วยการร้องและพูดเท่า ๆกัน ตัดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ เรื่องที่แสดง ได้แก่  เรื่องวั่งตี่  วิวาห์พระสมุทร

images (21).jpg

                9.  ละครพูด   ดำเนินเรื่องด้วยการพูดของตัวละคร  ใช้ท่าทางอย่างสามัญในการแสดงซึ่งต่อมาละครชนิดนี้ได้พัฒนาเป็นละครเวที  ละครทีวีในปัจจุบัน   นิยมแสดงเรื่อง  มัทนะพาธา  หัวใจนักรบ  เวนิสวานิช  

imagesCABJFWK7.jpg

3. หุ่น

                หุ่น  หมายถึง  การแสดงที่ใช้หุ่นแสดงโดยคนเป็นผู้เชิด เล่นเป็นเรื่องอย่างละคร
มี 3 ประเภท  คือ
               3.1 หุ่นหลวง หรือ หุ่นใหญ่  ตัวหุ่นมีความสูงประมาณ  80 เซ็นติเมตร - 1  เมตร

images (16).jpg


               3.2 
หุ่นละครเล็ก เป็นหุ่นเต็มตัว คล้ายคนจริงมีขนาดโตกว่าหุ่นกระบอก ตัวหุ่นสวมหน้าโขน
ที่สามารถถอดออกได้ ใช้คนเชิด3 คนต่อหุ่น 1 ตัว

images (14).jpg
             

                3.3 
หุ่นกระบอก ใช้ไม้กระบอกเป็นแกนในการเชิดหุ่นคนเชิด1 คนต่อหุ่น 1 ตัวแสดงบนเวที
ที่มีความกว้าง ยาวประมาณ  5  เมตร  โดยยกพื้นเวทีให้สูงระดับสายตาคนดู นิยมแสดงเรื่อง พระอภัยมณีใช้ทำนองเพลง 'สังขารา' บรรเลงประกอบการแสดง

images (10).jpg

ระบำ  รำ  ฟ้อน

1. ระบำ

                คือ  การร่ายรำพร้อมกันเป็นหมู่  มี  2  ชนิด  ได้แก่ 
                1.1 ระบำมาตรฐาน  หมายถึง  ระบำที่มีเพลงร้อง  ท่ารำที่งดงามเป็นแบบแผน  เช่น  ระบำดาวดึงส์   ระบำสี่บท  ระบำกฤษฎาภินิหาร  เป็นต้น

f007.jpg
                1.2 ระบำที่ปรับปรุงขึ้น  หมายถึง    ระบำที่ปรับปรุง   ประดิษฐ์ขึ้นในภายหลังเพื่อประโยชน์ในการใช้แสดงเสริมในการแสดงละคร  โขนให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น  เช่น  ระบำชุมนุมเผ่าไทย ระบำนพรัตน์   เป็นต้น

1370621723.jpg

 2. รำ
                 คือ  การร่ายรำที่มุ่งนำเสนอความงดงาม  อ่อนช้อย  มี  4  แบบ  ได้แก่
 
                2.1 รำเดี่ยว   มีผู้แสดงเพียงคนเดียว  ถือเป็นการแสดงความสามารถในการรำเฉพาะบุคคล  เช่น  รำฉุยฉายเบญกาย   รำฉุยฉายทศกัณฐ์  รำฉุยฉายพราหมณ์  เป็นต้น
 

9 (1).jpg
                2.2 รำคู่   ผู้แสดง 2 คน เช่น  รจนาเสี่ยงพวงมาลัย รามสูร- เมขลา พระลอตามไก่  เป็นต้น

13506429601350644837l.jpg
                2.3 รำหมู่  มีผู้แสดงมากกว่า  2  คนขึ้นไป  มุ่งนำเสนอความงดงามของท่ารำและความพร้อมเพรียงของผู้แสดง  เช่น  รำสีนวล  รำซัดชาตรี  เป็นต้น

images (8).jpg
                 2.4 รำอาวุธ  คือ  การรำที่ผู้แสดงถืออาวุธสู้รบกัน  เช่น  รำกริช  รำดาบ  เป็นต้น

maxresdefault.jpg

3.ฟ้อน                                                            

                เป็นศิลปการร่ายรำของทางภาคเหนือ  ที่มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า  อ่อนช้อย  เช่น  ฟ้อนเล็บ  ฟ้อนเทียน  ฟ้อนสาวไหม  เป็นต้น

ฟ้อนเล็บ.jpg

 

การละเล่นของหลวง

         การละเล่นของหลวง  หมายถึง  การละเล่นที่แสดงถวายพระมหากษัตริย์เฉพาะในงานพระราชพิธีของหลวงเท่านั้น  เช่น  งานเฉลิมพระชนมพรรษา  งานพระราชพิธีโสกันต์  งานสมโภชน์พระนคร เป็นต้น มีการแสดงทั้งหมด  5  ชุด  ได้แก่

  1. ระเบง
  2. โมงครุ่ม
  3. กุลาตีไม้
  4. กระอั้วแทงควาย
  5. แทงวิสัย

        การแสดงส่วนใหญ่แต่เดิมใช้ผู้แสดงเป็นชายล้วน และเครื่องแต่งกายเหมือนกัน คือ นุ่งสนับเพลาและผ้าโจงกระเบนลายดอก    สวมเสื้อแพรแดงแขนยาวสีแดง   มีผ้าคาดเอว (ยกเว้นกระอั้วแทงควายและแทงวิสัย) แต่สวมเครื่องประดับศีรษะแตกต่างกันไป

1. ระเบง   

                ระเบง  หรือ  ระเบ็ง ชาวบ้านมักเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า    โอละพ่อ   เป็นการแสดงเรื่องราวของกษัตริย์น้อยใหญ่ที่เดินทางไปยังเขาไกรลาส ระหว่างทางพระกาลมาขวางไว้ บรรดากษัตริย์น้าวธนูจะยิงพาหนะของพระกาล ๆ โกรธจึงสาปให้สลบแต่ภายหลังเกิดความสงสารจึงถอนคำสาปให้บรรดากษัตริย์ฟื้นกลับคืนบ้านเมือง   เอกลักษณ์ของการแสดงระเบง  คือ

                1.  คำขึ้นต้นบทร้องที่เริ่มด้วยคำว่า  โอละพ่อเสมอ เช่น  โอละพ่อขอถวายบังคม.... หรือ โอละพ่อยกกลับเข้าเมือง .... เป็นต้น

                2.  ฆ้องระเบง หรือฆ้อง 3 ใบเถาซึ่งตีไล่เสียง 3 ระดับไปกลับจากต่ำไปสูงและจากสูงมาต่ำเป็นเสียง  'โหม่ง  โมง  โม้ง  โม้ง  โมง  โหม่ง'   และในภายหลังมีวงปี่พาทย์ด
                3. ผู้แสดงสวมเทริดและถือธนู



images (1).jpg


2. โมงครุ่ม

                โมงครุ่มจะแต่งกายเหมือนระเบง   แต่มีวิธีการเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของการแสดง  คือ
ผู้แสดงถือไม้กำพด  มีกลองโมงครุ่มสำหรับตีกลุ่มละ 1 ใบ และมีผู้แสดงอีกคนถือฆ้องโหม่ง เมื่อผู้ตีโหม่งร้องว่า 'อิหลัดถัดทา' ตีโหม่ง 2 ทีบอกท่าใด เช่น ท่าบัวตูม ท่าบัวบาน ผู้แสดงต้องทำท่านั้น ยักเอวไปเรื่อย ๆ พร้อมกับร้องว่า 'ถัด ถัด ถัด ถัด ท่า ถัด ท่า ถัด ท่า ถัด' เมื่อได้ยินเสียงรัวโหม่งและร้องว่า 'โมงครุ่ม ' พร้อมกับตีโหม่ง  2 ที ผู้แสดงก็ใช้ไม้กำพดตีกลอง  จากเสียงโหม่งและเสียงกลองจึงเป็นทีของชื่อ  โมงครุ่ม หรือเรียกอีกชื่อว่า 'อิหลัดถัดทา'



images (3).jpg


3. กุลาตีไม้

เป็นการแสดงต่อจากโมงครุ่ม  ผู้แสดงแต่งกาย ถือไม้กำพดเหมือนกัน  เอกลักษณ์ของการแสดงคือ
              1. บทร้องประกอบการแสดง  มีดังนี้

                          ศักดานุภาพ                                  เลิศล้ำแดนไตร

                     สิทธิครูมอบให้                                   จึ่งแจ้งฤทธา 
                     
                     เชี่ยวชาญชัย                                     เหตุใดนาพ่อ
 

                    พระเดชพระคุณปกเกล้า                         ไพร่ฟ้าอยู่เย็น

              2. ผู้แสดงนั่งล้อมวงร้องเพลงและตบมือ 1เที่ยวแล้วร้องซ้ำไปเรื่อยๆ พร้อมกับหยิบไม้กำพดตีเป็นจังหวะ ลุกขึ้นยืน และใช้ไม้กำพดตีกันด้วยท่าต่างๆ เช่น ตีอย่างกรับ ตีโต้กันเป็นคู่ด้านบนและด้านล่าง  เป็นต้น

images (6).jpg


4. กระอั้วแทงควาย

                เป็นการละเล่นที่มุ่งแสดงความตลก  สนุกสนาน โดยดำเนินเรื่องว่า  นางกระอั้ว (บ้างว่าชื่อกระแอ) ฝันว่าได้กินตับควายแสนอร่อยจึงขอให้ตาโส (บ้างว่าชื่อกระอั้ว) ออกไปล่าควายเพื่อเอาตับมากิน  ตาโสและนางกระอั้วจึงออกไปล่าควายโดยใช้หอก  ความสนุกสนานจึงอยู่ที่ลีลาการล่าควายและการแสดงท่าทางกระตุ้งกระติ้ง  ร้องหวีดว้ายของนางกระอั้ว  และในที่สุดก็ล่าควายได้


images (20).jpg

5. แทงวิไสย

        ลักษณะการแสดง เป็นการประอาวุธของตัวละครสองฝ่าย อาวุธที่ใช้ก็จะใช้ทั้งอาวุธสั้นและอาวุธยาว เช่น หอก ดาบโล่ ง้าว ทวน เป็นต้น ผู้แสดงจะมี 2 คน แต่งกายแบบเซียวกาง (ทวารบาลของจีน) ออกมาต่อสู้ประอาวุธกันโดยเอาปลายอาวุธแตะกันข้างบนบ้างข้างล่างบ้าง แล้วเต้นวนไปมาลักษณะเหมือนการรบในการแสดงงิ้วของจีนแต่ช้ากว่า
        การแสดงแทงวิสัยในอดีตมีการบรรเลงดนตรีประกอบด้วย คือ เพลงกลม แต่ปัจจุบันไม่มีปรากฎ
การแสดงแทงวิไสย อนุมานว่าลักษณะของท่ารำในการแสดงน่าจะมีลักษณะการใช้ท่ารำอาวุธยาวซึ่งเป็นแม่ท่าในการรำอาวุธของไทย มีอยู่ 5 ท่ารำหลักได้แก่ ท่านาคเกี้ยว ท่าหงส์สองคอ ท่าปลอกช้าง
ท่าชิงคลอง(1,2) และท่าผ่าหมาก

  images (7).jpg

การแสดงพื้นเมือง

                     

                เพลงพื้นเมือง หรือ การแสดงพื้นเมืองเป็นการแสดงที่มักมีที่มาจากการประกอบอาชีพ  หรือ  ขนบประเพณีของแต่ละท้องถิ่น   ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามสภาพความเป็นอยู่และภูมิประเทศ  จึงจัดประเภทการแสดงพื้นเมืองตามภูมิภาคแบ่งได้เป็น  4   ภาค  ดังนี้

                1. เพลงพื้นเมือง / การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง  ที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ   ได้แก่  เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเต้นกำรำเคียว  หรือเพลงที่เกี่ยวกับความเป็นอยู่  ได้แก่  เพลงเรือ  ลำตัด  เพลงฉ่อย  เป็นต้น

เต้นกำรำเคียว.jpg

                2. เพลงพื้นเมือง / การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ   เพลงที่เกี่ยวกับขนบ  ประเพณี ได้แก่ เพลงซอ  ฟ้อนเทียน  หรือเพลงที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ ได้แก่  เพลงฟ้อนสาวไหม  เป็นต้น

กลองสะบัดชัย.jpg

                3. เพลงพื้นเมือง / การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน เพลงที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ  เช่น  เซิ้งกระติ๊บ เซิ้งขุดหน่อไม้  หรือ เพลงที่เกี่ยวกับประเพณี  ได้แก่   เซิ้งบั้งไฟ ฟ้อนภูไท หมอลำ  เป็นต้น

แพรวา.jpg

                4. เพลงพื้นเมือง / การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ ที่เกี่ยวข้องกับประเพณี  ได้แก่ เพลงบอก ซึ่งใช้ในการบอกกล่าวงานต่างๆ หรืออวยพร สั่งสอน  เป็นต้น  เพลงที่เกี่ยวการประกอบอาชีพ เช่น  เพลงนา ระบำร่อนแร่ ระบำปาเต๊ะ  เป็นต้น

โนรา.jpg 

 

 

**************************************