หลักการวิจารณ์การแสดง

เอกสารประกอบการสอนรายวิชา  ศ31102        ศิลปะ 2        ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4
หน่วยการเรียนรู้ที่  3   วิจารณ์การแสดง  เรื่อง การวิจารณ์การแสดง
...............................................................................................................................

                การดูละคร หรือ ภาพยนตร์นั้น ผู้ดูจะต้องทำตัวให้สบาย เตรียมพร้อมที่จะใช้สติปัญญา พื้นความรู้  เพื่อรู้สึกชื่นชมกับสิ่งที่ดู  ส่วนในการวิจารณ์ละครแบบสากลนั้น  มีหัวข้อที่ควรวิจารณ์ โดยสังเขปดังนี้

สถานการณ์นาฏกรรม

  1. แนวคิดพื้นฐานของละครนั้นอาจมีได้ในชีวิตจริงหรือไม่
  2. ดูแล้วได้ความคิด / ข้อคิด หรือประสบการณ์ใดเพิ่ม
  3. เห็นด้วยกับกับแนวคิดของเรื่องหรือไม่

โครงเรื่อง

  1. เหตุการณ์ในละครชัดเจน แจ่มแจ้งเพียงใด
  2. น่าสนใจตลอดเรื่องหรือไม่
  3. จบเช่นนั้นสมควรหรือไม่  ถ้าไม่ควรจบอย่างไร

การสร้างตัวละคร

  1. ตัวละครมีชีวิต จิตใจคล้ายคนจริงหรือไม่  (จัดเป็นตัวละครแบบใด)
  2. ตัวละครทำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกเห็นใจ  น่าเอ็นดู  ตลกขบขัน  ชื่นชม  เกลียดชัง  ฯลฯ  เพียงใด

บทสนทนา

  1. บทพูดคมคาย  น่าฟัง  น่าสนใจเพียงใด
  2. คำพูดของตัวละครเหมาะสมกับนิสัย และสิ่งแวดล้อมในเรื่องหรือไม่
  3. เมื่อดูจบแล้วมีอะไรในคำพูดของตัวละครคำใดบ้างที่ติดใจ ต้องจำ 

การแสดง

  1. ตัวละครแสดงได้สมบทบาทหรือไม่
  2. ผู้แสดงๆได้อย่างธรรมชาติ หรือ เป็นแต่เพียงพยายามจะแสดง
  3. การแสดงของตัวละครทำให้ผู้ชมต้องหัวเราะ  ร้องไห้  เศร้า  หรือไม่
  4. วิธีการพูด น้ำเสียง  การใช้ภาษาถิ่นถูกต้องเพียงใด
  5. ผู้แสดงสามารถรักษาบุคลิกภาพของตัวละครไว้ได้เสมอต้นเสมอปลายหรือไม่

การจัดเวที แสง เสียง

  1. ฉาก / สถานที่เข้ากับเนื้อเรื่องหรือไม่  ช่วยเสริมบรรยากาศให้กับละครได้ดีเพียงใด
  2. เครื่องแต่งกาย  เครื่องประดับเหมาะกับตัวละครเพียงใด
  3. การให้แสงสอดคล้อง เสริมบรรยากาศให้ละครหรือไม่
  4. เพลงประกอบมีความเหมาะสม ช่วยสร้างบรรยากาศได้ดีเพียงใด