บทความหน่วยความจำรอง ( Secondary Storage )

หน่วยความจำรอง ( Secondary Storage )

               ในยุคสังคมสารสนเทศทุกวันนี้ข้อมูลและโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะมีจำนวนหรือขนาดใหญ่มาก ตามความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความซับซ้อนของปัญหาที่พบในงานต่าง ๆ หน่วยความจำหลักที่ใช้เก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์จึงต้องมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย โดยทั่วไป หน่วยความจำหลัก จะมีขนาดจำกัดทำให้ไม่พอเพียงสำหรับการเก็บข้อมูลจำนวนมาก เป็นการเพิ่มขีดความ สามารถด้านจดจำของคอมพิวเตอร์ให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ถ้ามีการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะทำงานข้อมูลและโปรแกรมที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลักหรือแรมจะสูญหายไปหมด หากมีข้อมูลส่วนใดที่ต้องการเก็บไว้ใช้งานในภายหลังก็สามารถเก็บไว้ในหน่วยความจำรอง หน่วยความจำรองที่นิยมใช้กันมากจะเป็นจานแม่เหล็กซึ่งจะมีแผ่นบันทึกและฮาร์ดดิสก์    หน่วยนับความจุของหน่วยความจำรองจะนับเป็น เมกะไบท์ ( MB )  , กิโลไบท์ ( KB ) และ กิกะไบต์ ( GB )

            หน่วยความจำรอง ( Secondary Storage ) หมายถึง หน่วยที่ใช้สำหรับเก็บบันทึก (Save) คำสั่งและข้อมูลเอาไว้อย่างถาวรเพื่อใช้งานในอนาคตหรือเพื่อนำส่งและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้อื่น โดยที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เก็บได้ตลอดเวลา

หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ถูกอ้างตำแหน่งแบบฐานสอง อันเนื่องมาจากการออกแบบ ดังนั้นขนาดของหน่วยความจำจะเป็นพหุคูณของ 2 เสมอ จึงเป็นการสะดวกที่จะวัดขนาดความจุเป็นหน่วยไบนารี ส่วนการวัดขนาดความจุอื่น ๆ เช่นหน่วยเก็บข้อมูลที่อยู่ในรูปอุปกรณ์คอมพิวเตอร์, อัตราการส่งข้อมูล, ความเร็วสัญญาณนาฬิกา, จำนวนโอเปอเรชั่นต่อวินาที, และอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ฐานเลข จะใช้หน่วยวัดเป็นหน่วยเลขฐานสิบ ผู้บริโภคที่ไม่ทราบเรื่องความหมายที่แตกต่างกันของคำย่อเหล่านี้ จะรู้สึกว่าขนาดความจุที่เห็นจริงนั้น น้อยกว่าขนาดที่ผู้ผลิตบอกไว้ และบอกว่าโรงงานผลิตไดรวฟ์และอุปกรณ์ส่งถ่ายข้อมูล จงใจเลือกใช้เลขฐานสิบเพื่อทำให้ตัวเลขดูมากกว่าความเป็นจริง แม้ว่าการวัดความจุแบบนี้จะเป็นปกติวิสัยในสถานการณ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่หน่วยความจำและหน่วยเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์

ยกตัวอย่าง ถ้าผู้จำหน่ายบอกว่าฮาร์ดไดรวฟ์มีความจุข้อมูลได้ 140 GB, ดิสก์จะสามารถจุได้ 140×109 ไบต์ โดยทั่วไป ระบบปฏิบัติการจะจองเนื้อที่ และรายงานขนาดของดิสก์และแฟ้มในหน่วยไบนารี่, และแสดงออกมาโดยใช้ตัวย่อ (เช่น GB, MB, KB) ตัวเดียวกับที่ใช้โดยระบบเลขฐานสิบ, ดังนั้นไดรวฟ์จะถูกรายงานว่ามีขนาด '130 GB' (จริง ๆ คือ 130.36 GiB) (ในทางปฏิบัติ เราไม่สามารถเก็บแฟ้มให้มีขนาดรวมทั้งสิ้น 130.36 GiB ได้ อันเนื่องมาจาก overhead ของระบบแฟ้ม)

เมกะไบต์ (อังกฤษ: megabyte) เป็นหน่วยวัดปริมาณสารสนเทศหรือความจุของหน่วยเก็บ (storage) ในคอมพิวเตอร์ มีค่าเท่ากับหนึ่งล้านไบต์ เมกะไบต์นิยมเขียนย่อเป็น MB (อย่าสับสนกับ Mb ซึ่งใช้แทนเมกะบิต) หรือบางครั้งอาจพูดหรือเขียนเป็น เม็ก หรือ meg

เนื่องจากความไม่สม่ำเสมอในการใช้อุปสรรคฐานสองในการนิยามและการใช้งาน ฉะนั้น ค่าแม่นตรงของกิโลไบต์ในทางปฏิบัติโดยทั่วไปอาจเป็นค่าใดค่าหนึ่งจากค่าดังต่อไปนี้

1,000,000 ไบต์ (10002, 106) : นิยามนี้นิยมใช้ใช้ในบริบทของระบบข่ายงานและการระบุความจุของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ และดีวีดี นิยามนี้สอดคล้องกับการใช้อุปสรรค (คำนำหน้าหน่วย) ในหน่วยเอสไอ ตลอดจนการใช้อุปสรรคในวงการคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป

บิต (อังกฤษ: bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ใช้ระบบคอมพิวเตอร์แบบดิจิทัลและทฤษฎีข้อมูล

ข้อมูลหนึ่งบิต มีสถานะที่เป็นไปได้ 2 สถานะ คือ

  • 0 (ปิด)
  • 1 (เปิด)

เคลาด์ อี แชนนอน (Claude E. Shannon) เริ่มใช้คำว่า บิต ในงานเขียนของเขาในปี พ.ศ. 2491 โดยย่อจากคำเต็มคือ binary digit (หรือ binary unit) แชนนอนได้กล่าวถึงที่มาของคำนี้ว่ามาจาก จอห์น ดับบลิว ทูคีย์ (John W. Tukey)

ไบต์ (byte) เป็นกลุ่มของบิต ซึ่งเดิมมีได้หลายขนาด แต่ปัจจุบัน มักเท่ากับ 8 บิต ไบต์ขนาด 8 บิต มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า ออกเท็ต (octet) สามารถเก็บค่าได้ 256 ค่า (28 ค่า, 0 ถึง 255) ส่วนปริมาณ 4 บิต เรียกว่านิบเบิล (nibble) สามารถแทนค่าได้ 16 ค่า (24 ค่า, 0 ถึง 15)

  1. 1,024,000 ไบต์ (1,024×1,000) : นิยามนี้ใช้ในการระบุความจุของหน่วยเก็บบางชนิด ที่รู้จักกันดีที่สุด ได้แก่ แผ่นฟลอปปีดิสก์ชนิดความหนาแน่นสูง ความจุ '1.44 MB' (1,474,560 ไบต์) ขนาด '3.5 นิ้ว' (อันที่จริงคือ 90 mm)
  2. 1,048,576 ไบต์ (10242, 220) : นิยามนี้ใช้ในการระบุความจุของหน่วยความจำแทบทุกชนิดในคอมพิวเตอร์ (เนื่องจากโดยส่วนใหญ่ การผลิตหน่วยความจำหลักนั้นจะเพิ่มความจุเป็นสองเท่าได้ง่ายที่สุด) และแผ่นซีดี ในปี พ.ศ. 2548 พบว่าซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ใช้นิยามนี้ในการแสดงความจุของหน่วยเก็บ ปริมาณตามนิยามนี้มีค่าเท่ากับหนึ่งเมบิไบต์ (ดู อุปสรรคฐานสอง)

พหุคูณของไบต์

อุปสรรคฐานสิบ

อุปสรรคฐานสอง

ชื่อ

สัญลักษณ์

ค่าพหุคูณ

ชื่อ

สัญลักษณ

ค่าพหุคูณ

กิโลไบต์

KB

103

กิบิไบต์

KiB

210

เมกะไบต์

MB

106

เมบิไบต์

MiB

220

จิกะไบต์

GB

109

จิบิไบต์

GiB

230

เทระไบต์

TB

1012

เทบิไบต์

TiB

240

เพตะไบต์

PB

1015

เพบิไบต์

PiB

250

เอกซะไบต์

EB

1018

เอกซ์บิไบต์

EiB

260

เซตตะไบต์

ZB

1021

ยอตตะไบต์

YB

1024

 

 

 

 

 

 

 

 





















หน่วยนับ

1 บิต(bit) =  จะเป็นได้ 2 สถานะ คือ   0 (ปิด) หรือ 1 (เปิด)

1 ไบต์(byte) = 8 บิต

1 กิโลบิต(Kb) = 1000*8 บิต หรือ 1024*8 บิต

1 เมกะบิต (Mb) = 1000 กิโลบิต หรือ 1024 กิโลบิต

1 จิกะบิต (Gb) = 1000 เมกะบิต หรือ 1024 เมกะบิต

1 เทราบิต (Tb) = 1000 จิกะบิต หรือ 1024 จิกะบิต

 

ที่มา//http://th.wikipedia.org/wiki

Content's Picture

Comment(s)


Vote this Content ?

Create by :


kruyodchai

Status : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์