เงื่อนเชือก

ความสำคัญของเงื่อนเชือก
           ในอดีตมนุษย์รู้จักการนำเงื่อนมาใช้ในการดำรงชีวิต  โดยใช้เส้นใยที่เกิดจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นเถาวัลย์  เยื่อเปลือกไม้ มาทำเป็นเชือกเพื่อผูกรัดหิน หรือวัสดุแข็งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แล้วนำไปใช้เป็นอาวุธในการล่าสัตว์ ดังที่เราเห็นในสารคดีต่างๆ
           ต่อมาเมื่อมนุษย์ในยุคต่างๆเจริญมากขึ้น จึงเริ่มใช้เชือกที่ทำจากวัสดุดังกล่าวมาผูกรัดเป็นเงื่อนปม ใช้ในการมัดวัสดุต่างๆ เช่น มัดท่อนซุง ลำไม้ไผ่ เพื่อใช้ในการต่อเป็นพาหนะในการดำเนินชีวิต และล่าสัตว์หาอาหารทั้งทางบกและทางน้ำ โดยจะเห็นจากการที่มนุษย์เริ่มมีแพในการเดินทางทางน้ำ  การปลูกสร้างบ้านในสมัยโบราณ แลอื่นๆอีกมาก
           กิจกรรมลูกเสือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ต้องการให้ผู้ร่วมกิจกรรมรู้จักใช้วัสดุที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาใช้ในการดำรงชีวิตเลียนแบบธรรมชาติเพื่อการดำรงความเป็นอยู่อย่างอิสระโดยไม่พึ่งตนเองมากที่สุด ประกอบกับการเรียนรู้เรื่องเงื่อนเชือกเป็นศาสตร์และศิลป์อย่างหนึ่งที่ลูกเสือจำเป็นต้องเรียนรู้  เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมในการอยู่ค่ายพักแรม  การสร้างฐานผจญภัย  การตั้งค่ายพักแรม  การใช้เงื่อนในการช่วยผู้เจ็บป่วย เป็นต้น
 
คุณสมบัติของเชือกและประโยชน์ของการเรียนรู้เรื่องเงื่อนเชือก
ต้นมะพร้าว  เชือกที่นำมาใช้ในการจัดกิจกรรมลูกเสือนั้นมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน  ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะที่เชือกที่สำคัญ ๆ ดังนี้ คือ
    1.เชือกมนิลา  เป็นเชือกที่มีถิ่นฐานมาจากประเทศฟิลิปปินส์ มีคุณสมบัติเหนียวและแข็งแรง  เชือกมนิลานี้ทำมาจากต้นอะคาบา ซึ่งพบได้มากในประเทศฟิลิปปินส์ มีประโยชน์ในการใช้เป็นเชือกผูกเรือและใช้ร่วมกับรอกทำสลิง
   2.เชือกป่าน  ทำมาจากต้นไม้ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ต้นเฮมพ์  มีสีเหลืองอ่อน มีความเหนียวในตัวมีความทนทานน้อย ผุกร่อนได้ง่าย  ดังนั้นการนำเชือกชนิดนี้มาใช้ จึงจำเป็นต้องนำไปชุบในน้ำมันดินเสียก่อนเพื่อให้เกิดความทนทานในการใช้งาน  ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกเชือกชนิดนี้ว่า           “ เชือกน้ำมัน ” เชือกน้ำมันหรือเชือกป่านนี้ เป็นเชือกที่นำมาใช้ในงานลักษณะที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ทั้งนี้เพราะน้ำมันจะช่วยป้องกันการกัดผุกร่อนของน้ำได้เป็นอย่างดี
   3.เชือกกาบมะพร้าว  ทำมาจากกาบของเบา และสามารถลอยตัวในน้ำได้ดี เนื่องจากเชือกชนิดนี้ มีความฝืด และหยาบ ตลอดจนลอยตัวในน้ำได้ จึงนิยมนำมาใช้ในงานที่เกี่ยวกับการประมงเช่น การลากพ่วงเรือและการลากเรือ   เป็นต้น
  4.เชือกลวด เป็นเชือกที่ผลิตจากเส้นโลหะและอโลหะผสมกัน การใช้เชือกชนิดนี้ต้องระมัดระวังการเกิดสนิมเป็นพิเศษ ทั้งนี้เพราะโลหะที่นำมาใช้ในการถักทอนั้นมักเกิดเป็นสนิมได้โดยง่าย
เชือกลวด  แบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท ซึ่งได้แก่
    4.1 เชือกลวดชนิดอ่อน  ชนิดนี้เป็นเชือกลวดที่ใช้เชือกชุบน้ำมันมาทำเป็นไส้ ก่อนทำเป็นเกลียวเชือก คุณสมบัติของเชือกชนิดนี้  สามารถนำมาขด หรือพับได้ง่าย  และยังสามารถนำมาผูกได้อีกด้วย
    4.2 เชือกลวดชนิดแข็ง ชนิดนี้เป็นเชือกลวดที่ใช้ลวดเส้นเล็กๆร้อยทำเป็นไส้ ชนิดนี้ใช้งานกับวัตถุประเภทหนักมากๆ  ไม่สามารถนำมาขด หรือพับได้ จึงมักใช้ประจำที่ในการใช้งาน
การบำรุงดูแลรักษาเชือกลวดทั้ง 2 ชนิดนี้ ควรหมั่นใช้น้ำมันหรือจารบีชโลม ให้ทั่ว  หลังเสร็จสิ้นการนำมาใช้งาน
  5.เชือกไนล่อน  เชือกชนิดนี้ผลิตจากวัสดุสังเคราะห์ ซึ่งเรียกตามภาษาในท้องตลาดว่า “ ไนล่อน ” ปัจจุบัน ลูกเสือนิยมใช้เชือกชนิดนี้มาก  ทั้งนี้เพราะเชือกชนิดนี้มีคุณสมบัติ ที่เหนียว  มีความทนทาน แต่มีจุดอ่อนที่ มีราคาแพง  และยืดตัวมากกว่าเชือกชนิดอื่นๆ
เชือกชนิดต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น  เป็นเชือกที่นิยมใช้ในกิจกรรมของลูกเสือ ซึ่งแต่ละชนิด จะมีคุณสมบัติและประโยชน์แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน และคุณสมบัติของเชือกชนิดนั้นๆ
การนำเชือกมาผูกเป็นเงื่อนปมมีประโยชน์อย่างมากมาย ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทและชนิดต่างๆของเงื่อนเชือก เช่น หากเป็นเงื่อนประมง จะมีประโยชน์ในกิจการที่เกี่ยวกับการประมง ซึ่งได้แก่ ใช้ในการต่อเชือกที่มีขนาดเดียวกันในการทำให้เชือกที่สั้นให้ยาวขึ้น  หรือใช้ต่อสายเอ็นตกปลา หรือใช้สำหรับผูกเพื่อเป็นที่ถือหิ้วภาชนะต่างๆเช่น คอขวด เป็นต้น  หรือเงื่อนผูกรั้ง เป็นเงื่อนที่ใช้ประโยชน์ในการจัดทำกิจกรรมได้หลายๆอย่าง เช่น สามารถใช้เงื่อนชนิดนี้ใน  การยึดเสาเต๊นท์  เสาธง   หรือ  สมอบก..


การเลือกใช้เชือกเพื่อกิจกรรมลูกเสือ
                ในการเลือกใช้เชือกเพื่อทำกิจกรรมต่างๆในกระบวนการลูกเสือ ไม่ว่าจะเป็นการนำเชือกไปใช้ประโยชน์ในการประมง  การใช้เชือกในการลากซุง  การใช้เชือกในการทำฐานผจญภัย และการใช้เพื่อประโยชน์อื่นๆ  มีหลักการในการคำนวณการใช้เชือกเพื่อกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
**ความยาวของเส้นรอบวงตัวเชือก (ยกกำลังสอง)  =   แรงรับน.น.วัตถุ (คิดเป็นตัน)  X  18  , 9 , 6  หรือ  3)**
หมายเหตุ  :  ตัวเลข 18, 9 , 6 หรือ 3  เป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการใช้เชือกในการรับน้ำหนัก    กล่าวคือ
                ขนาดเส้นรอบวงของเชือกที่มีความปลอดภัยสูงสุด    ใช้ ตัวเลข  18  ในการคูณในสูตร
                ขนาดเส้นรอบวงของเชือกที่มีความปลอดภัยสูง          ใช้ ตัวเลข   9  ในการคูณในสูตร
                ขนาดเส้นรอบวงของเชือกที่รับน้ำหนักเต็มที่               ใช้ ตัวเลข   6  ในการคูณในสูตร
                ขนาดเส้นรอบวงของเชือกที่มีอันตราย                          ใช้ ตัวเลข    3  ในการคูณในสูตร
ตัวอย่างที่ 1   หากเราต้องการสร้างฐานผจญภัยให้มีความปลอดภัยสูงสุด ซึ่งรับน้ำหนักลูกเสือได้  200 กิโลกรัม (0.2 ตัน)  เราจะใช้เชือกที่มีขนาดเส้นรอบวงเท่าใด (ความปลอดภัยสูงสุดใช้ ตัวเลข  18 ในการคูณในสูตร)
สูตรในการคำนวณ
ความยาวของเส้นรอบวงตัวเชือก (ยกกำลังสอง)  =   แรงรับน.น.วัตถุ (คิดเป็นตัน)  X  18  
                                                                                                            =   0.2 ตันX  9
ความยาวของเส้นรอบวงตัวเชือก (ยกกำลังสอง)=   1.8  ตัน

**เงื่อนต่างๆที่ควรเรียนรู้**
ตามหลักสูตรของการรับเครื่องหมายลูกเสือโลก เงื่อนเชือกที่ลูกเสือจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อใช้ในการร่วมกิจกรรมลูกเสือนั้น มีอยู่ด้วยกัน 10 เงื่อนเชือก ได้แก่
1.             เงื่อนพิรอด ( Square Knot or Reef  Knot )
2.             เงื่อนขัดสมาธิ ( Sheet Bend  Knot )
3.             เงื่อนผูกกระหวัดไม้ ( Two  Half  Hitch  Knot )
4.             เงื่อนบ่วงสายธนู ( Bowline   Knot )
5.             เงื่อนตะกรุดเบ็ด ( Clove Hitch Knot )
6.             เงื่อนประมง ( Fisherman   Knot )
7.             เงื่อนผูกซุง ( Timber  Hitch  Knot )
8.             เงื่อนผูกรั้ง ( Tarbuck   Knot )
9.             เงื่อนปมตาไก่ ( Stevedore’s  Knot )
10.      เงื่อนการผูกแน่น ( Lashing  Knot )
10.1  เงื่อนผูกประกบ  ( Sheer Lashing  Knot )
10.2  เงื่อนผูกกากบาด (Square Lashing  Knot )
10.3  เงื่อนผูกทะแยง (Diagonal Lashing  Knot )
 
1. เงื่อนพิรอด ( Square Knot or Reef  Knot )
ในการต่อเชือกสองเส้นที่มีขนาดเท่ากันเข้าด้วยกัน  เราใช้เงื่อนพิรอด  ซึ่งเงื่อนพิรอดนี้เป็นเงื่อนที่นิยมใช้กันมากในการใช้รัดสิ่งของ ผูกชายผ้าพันแผล ผูกปลายผ้าทำสายคล้องคอ  นอกจากนี้ยังใช้สำหรับผูกผ้าปูที่นอนที่นำมาต่อกัน แล้วใช้ผูกตัวผู้ป่วย เพื่อหย่อนจากที่สูงเมื่อเกิดอัคคีภัย  เงื่อนพิรอดนี้นอกจากจะใช้ผูกให้แน่นหนาแล้ว  ยังสามารถแก้ปมเงื่อนออกได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว

เงื่อนพิรอด

  


ประโยชน์
๑.  ใช้ต่อเชือก ๒ เส้น ที่มีขนดเท่ากัน เหนียวเท่ากัน
๒.  ใช้ผูกชายผ้าพันแผล ผูกชายผ้าทำสลิงคล้องคอ
๓.  ใช้ผูกมัดหีบห่อ และวัตถุต่าง ๆ
๔.  ผูกเชือกรองเท้า ( ปลายกระตุก ๒ ข้าง ) และผูกโบว์
๕.  ใช้ผูกกากบาทญี่ปุ่น
๖.  ใช้ต่อผ้าเพื่อให้ได้ความยาวตามต้องการเพื่อช่วยคนที่อยู่ที่สูงในยามฉุกเฉิน
( ต้องเป็นผ้าเหนียว ๆ )

เงื่อนขัดสมาธิ

 

ประโยชน์
๑. ใช้ต่อเชือกที่มีขนาดต่างกัน (เส้นเล็กเป็นเส้นพันขัด) หรือต่อเชือกที่มีขนาด
เดียวกันก็ได้
๒.ใช้ต่อเชือกแข็งกับเชือกอ่อน(เส้นอ่อนเป็นเส้นพันขัด)
๓.ใช้ต่อเชือกที่ค่อนข้างแข็งเช่นเถาวัลย์
๔.ใช้ต่อด้ายต่อเส้นไหมทอผ้า
๕. ใช้ผูกเชือกกับขอหรือบ่วง (ใช้เชือกเล็กเป็นเส้นผูกขัดกับบ่วงหรือขอ) เช่น
ผูกเชือกกับธงเพื่อเชิญธงขึ้น – ลง

 เงื่อนตะกรุดเบ็ด




 ประโยชน์
๑. ใช้ผูกเชือกกับเสาหรือหลักเพื่อล่ามสัตว์เลี้ยงหรือเรือแพ(เพื่อป้องกันไม่ให้
ปมเชือกคลายหลุดควรเอาปลายเชือกผูกขัดสอดกับตัวเชือก ๑ รอบ )
๒. ใช้ผูกบันไดเชือก บันไดลิง  ผูกกระหวัดไม้
๓. ใช้ในการผูกแน่น เช่น ผูกประกบ ผูกกากบาท

เงื่อนผูกร่น หรือ ทบเชือก  






ประโยชน์
๑. ใช้ผูกร่นเชือกตรงส่วนที่ชำรุดเล็กน้อย  เพื่อให้เชือกมีกำลังเท่าเดิม
๒. เป็นการทบเชือกให้เกิดกำลังลากจูง
๓. การร่นเชือกที่ยาวมากๆ ให้สั้น ตามต้องการ

 เงื่อนกระหวัดไม้ 

 

 
 

ประโยชน์
๑. ใช้ผูกชั่วคราวกับห่วง หรือกับรั่ว กับกิ่งไม้
๒. แก้ง่าย แต่มีประโยชน์
๓. ผูกเชือกสำหรับโหน

เงื่อนบ่วงสายธนู

 


ปรโยชน์

๑. ทำบ่วงคล้องกับเสาหลักหรือวัตถุ เช่น ผูกเรือ แพไว้กับหลัก ทำให้เรือแพ

ขึ้น – ลงตามน้ำได้

๒. ทำบ่วงคล้องเสาหลัก เพื่อผูกล่ามสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย เพื่อให้สัตว์เดิน

หมุนได้รอบ ๆเสาหลักเชือกจะไม่พันรัดคอสัตว์

๓. ใช้ทำบ่วงให้คนนั่ง เพื่อหย่อนคนลงสู่ที่ต่ำหรือดึงขึ้นสู่ที่สูง

๔. ใช้คล้องคันธนู เพื่อโก่งคันธนู

๕. ใช้ทำบ่วงต่อเชือกเพื่อการลากโยงของหนัก ๆ หรือทำบ่วงบาศ

๖.ใช้ผูกปลายเชือก ผูกถังตั้งถังนอน

เงื่อกผูกรั้ง

 
 
ประโยชน์ 
๑. ใช้ผูกสายเต็นท์ ยึดเสาธงกันล้ม ใช้รั้งต้นไม้ 
๒. เป็นเงื่อนเลื่อนให้ตึงหรือหย่อนตามต้องการได้

เงื่อนประมง

 
 
ประโยชน์
๑. ใช้ต่อเส้นด้ายเล็ก ๆ เช่น ด้ายเบ็ด ต่อเส้นเอ็น
๒. ใช้ต่อเชือก ๒ เส้นที่มีขนาดเดียวกัน
๓. ใช้ผูกคอขวดสำหรับถือหิ้ว
๔. ต่อเชือกขนาดใหญ่ที่ลากจูง
๕. ใช้ต่อสายไฟฟ้า
๖. ใช้ผูกเรือแพกับท่าเรือหรือกับหลักหรือห่วง
๗. เป็นเงื่อนที่ผูกง่ายแก้ง่าย

เงื่อนผูกซุง

 


ประโยชน์
๑. ใช้ผูกวัตถุท่อนยาว ก้อนหิน ต้นซุง เสา เพื่อการลากโยง
๒. ใช้ผูกทแยง
๓. ใช้ผูกสัตว์ เรือแพไว้กับท่าหรือเสาหรือรั้ว ต้นไม้
๔. เป็นเชือกผูกง่ายแก้ง่าย

เงื่อนเก้าอี้


 
  
ประโยชน์
เป็นเงื่อนกู้ภัยใช้ช่วยคนที่ติดอยู่บนที่สูง ไม่สามารถลงทางบันไดได้ หรือ
ใช้ช่วยคนขึ้นจากที่ต่ำ ใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับบ่วงสายธนู ๒ ชั้นยึดกันแน่น
โดยมีสิ่งของอยู่ตรงกลางภายในบ่วงเพื่อดึงลากสิ่งของไป ระหว่างจุด ๒ จุด

เงื่อนผูกทะแยง

 

วิธีผูก   เอาเชือกพันรอบเสาทั้ง ๒ ต้น ตรงระหว่างมุมตรงข้ามด้วยเงื่อนผูกซุง
แล้วดึงตัวเชือกไม้เสาทั้ง ๒ ต้น ตามมุมตรงข้ามคู่แรก ( มุมทแยง ) 
ประมาณ ๓ รอบ ( ทุกรอบดึงให้เชือกตึง )แล้วดึงเชือกพันเปลี่ยนมุมตรงข้าม
คู่ที่ ๒ อีก ๓รอบ แล้วดึงเชือกพันหักคอไก่(พันรอบเชือกระหว่างไม้เสาทั้งสอง)
สัก ๒ – ๓ รอบ พันเสร็จเอาปลายเชือกผูกตะกรูดเบ็ดทีไม้เสาต้นใดต้นหนึ่ง
เก็บซ่อนปลายเชือกให้เรียบร้อย
ประโยชน์
๑. ใช้ในงานก่อสร้าง
๒. ให้ผูกเสาหรือไม้ค้ำยัน ป้องกันล้ม
๓. ทำตอม่อสะพาน

ผูกตอม่อสะพาน ( TRESTLE )



อุปกรณ์ทำตอม่อสะพาน ด้วยไม้พลองหรือเสาเข็ม
๑. เสายาวพอสมควร จำนวน ๖ต้น ( ใช้พลองฝึก )
๒. เชือกมนิลาสำหรับผูก ๙เส้นขนาดโตพอสมควร (ฝึกด้วยพลองเชือกยาว
๓ เมตร)
วิธีสร้าง   ฝึกด้วยไม้พลอง
๑. วางไม้พลอง ๒ อันขนานกันห่างกันประมาณ ๒ ใน ๓ ของความยาว
เป็นเสาตั้ง  ( leg )
๒. เอาไม้พลองอีก ๒ อันวางทับลงบนไม้พลองคู่แรก( leg )ให้ปลายยื่น
ออกไปด้านละ ๑/๖หรือ ๑/๘
๓. เอาเชือกวัดความยาวของพลอง ทบเชือกแบ่งเป็น ๘ และ ๑๖ ส่วน เลื่อน
หัวเสาทั้ง ๒ อันเข้าหากันอีกข้างละ  ๑/๑๖   เพื่อทำให้หัวเสาสอดเข้าหากัน
๔. เงื่อนที่ใช้ผูกใช้เงื่อนผูกกากบาทและผูกทแยง ( ตรงกลาง )
ประโยชน์
๑. ใช้ต่อเสาหรือไม้ให้ยาว
๒. ทำตอม่อสะพาน เสาธงลอย
๓. ทำนั่งร้าน ทำหอคอย

การเก็บเชือก



ที่มา
 http://schoolweb.eduzones.com/scoutsutthi/content.php?view=20130817133500hbsZRRL

Content's Picture

Comment(s)


Vote this Content ?

Create by :


krusauy

Status : ผู้ใช้ทั่วไป
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน