การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ

การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ

หลักการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ


     1. การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ เป็นการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นการค้าหรือจำหน่ายเพื่อหารายได้ให้แก่ครอบครัวหรือเป็นอาชีพ การเลี้ยงสัตว์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งถึงแม้สัตว์บางประเภทจะเป็นต้องลงทุนสูง แต่ผลผลิตที่ได้คุ้มค่าก็น่าลองดู เพราะการทำกิจการใดๆทุกกิจการเป็นการเสี่ยงทั้งนั้นจะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการหรือเจ้าขอกิจการ 


หลักพิจารนาการเลี้ยงเพื่อจำหน่าย ดังนี้

          1.1 ความต้องการของตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณและกลุ่มเป้าหมาย ของผู้บริโภคถ้าเป็นอาหารสากลนิยมบริโภคกันโดยทั่วไปเป็นกลุ่มใหญ่ก็ไม่น่ามีปัญหาในการผลิตแต่ถ้าในการผลิตกันมากจนล้นตลาด โอกาสที่ราคาของผลผลิตตกต่ำจึงมีมาก ข้อสำคัญผู้ผลิตต้องมีข้อมูลทั้งความต้องการของตลาด และปริมาณในการผลิตด้วยเพื่อประกอบการตัดสินใจ
          1.2 ต้นทุนการผลิต หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการผลิตทั้งหมด รวมทั้งแหล่งการเงินซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินการ ราคาต้นทุนสูงแต่ผลผลิตต่ำหรือไม่แน่นอนก็ไม่ควรตัดสินใจ แต่ถ้าต้นทุนสูงและผลผลิตสูงราคาดีก็น่าลองตัดสินใจ แต่โอกาสที่เกษตรมุ่งหวังคือต้นทุนต่ำผลผลิตสูง ราคาดีนั้น มีโอกาสเป็นไปได้น้อย ถึงอย่างไรก็ตามผู้ผลิตต้องประเมินโอกาสที่จะเป็นไปได้โดยใช้ข้อมูลพื้นฐานจากแหล่งต่างๆ
          1.3 ความรู้และทักษะของผู้ผลิต เป็นสิ่งสำคัญมากเนื่องจากการเลี้ยงสัตว์ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตต้องมีทักษะและเทคนิคชั้นสูงรวมทั้งเทคโนโลยีจึงจะไปได้รอด ความรู้และวิชาการสมัยใหม่เป็นสิ่งจำเป็น เพราะมรการพัฒนาอยู่เสมอ ผู้ผลิตจึงต้องปรับตัวให้ทันเหตุการณ์
          1.4 เปิดโลกทัศน์การเลี้ยงสัตว์ตัวใหม่ ถ้าเป็นผู้ริเริ่มเป็นคนแรก และมีตลาดรองรับ โอกาสที่จะประสบผลสำเร็จเป็นไปได้สูงมาก เช่น การเลี้ยงแพะเพื่อเป็นสินค้าส่งออกในตะวันออกกลาง การเลี้ยงนกกระจอกเทศเพื่อเป็นสินค้าส่งออกแถบในทวีปยุโรป เป็นต้น
          1.5 สถานที่เลี้ยงสัตว์ต้องเหมาะสมกับสัตว์แต่ละประเภท รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆด้วย นอกจากนี้ชุมชนก็เป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจเพราะการดำเนินงานไปแล้ว ถ้ามีเหตุหรือปัจจัยอันใดก็ตามทำให้ต้องเลิกล้มกิจการเป็นเรื่องที่ทุกคนไม่พึงปรารถนา จึงควรพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน



     2. ความสำคัญของการเลี้ยงสัตว์

              การเลี้ยงสัตว์ปรกติเป็นงานควบคู่กันไปกับการปลูกพืชในชนบท แต่มีปริมาณไม่มากนัก ปัจจุบันมีการเลี้ยงสัตว์อาชีพหลักและอาชีพเสริม เพื่อมาตรฐานเศรษฐกิจของครอบครัว การเลี้ยงสัตว์จึงมีความสำคัญดังนี้
             2.1 ทำให้ของเหลือทิ้งในไร่นาเป็นประโยชน์ เช่น ฟางข้าวและวังข้าวโพด เป็นต้น
             2.2 ทำให้มีรายได้จากการจำหน่ายสัตว์ ผลิตภัณฑ์และส่วนต่างๆของสัตว์ เช่น เนื้อ นม ไข่ หนัง ขน มูลสัตว์ เป็นต้น
             2.3 ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทำให้เกอดความเพลิดเพลินและพัฒนาจิตใจให้เป็นคนใจเย็น สุขุม ทำให้เห็นคุณค่าของตัวเอง
             2.4 เป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้า เช่น นำข้าวโพดมาใช้เป็นอาหารสัตว์ ทำให้เกิดรายได้สูงขึ้นแทนที่จะนำข้าวโพดไปขายอย่างเดียวในราคาต่ำ
             2.5 ลดค่าเสี่ยงภัยการตลาดจากการพึ่งพาสินค้าเกษตรอย่างเดียว ถ้ามีสินค้าหลายอย่างจะช่วยเฉลี่ยรายได้ เพราะสินค้าแต่ละชนิดจะมีราคาสูงและต่ำไม่เท่ากัน สามารถนำมาเฉลี่ยกันได้ และสุดท้ายคือไม่ขาดทุน มีรายได้พอเลี้ยงตัวได้ หรือมีกำไรพอประมาณ สามารถดำเนินการธุรกิจการเลี้ยงสัตว์ต่อไปได้โดยไม่จำเป็นต้องล้มเลิกกิจการ



     3. สัตว์ที่มีจำหน่ายในท้องถิ่น

             สัตว์ที่มีจำหน่ายในท้องถิ่นมีหลายประเภท แตกต่างไปตามลักษณะของภูมิประเทศความสามรถในการเลี้ยงสัตว์ของชุมชน ศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ของท้องถิ่นนั้นๆ นอกจากนี้ส่วนสำคัญอื่นๆคือทรัพยากรทางธรรมชาติที่เอื้ออำนวยต่อการผลิตสัตว์แต่ละประเภท ได้แก่
             3.1 ชายทะเลเป็นดินเลน น้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม มีกุ้ง ปู ปลา และสัตว์ทะเลอื่นๆ
             3.2 ที่ลุ่มหรือเขตดินเหนียว เหมาะแก่การทำบ่อปลา บ่อกุ้งก้ามกราม ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาไน ปลาดุก ปลาช่อน ปลาสวาย และปลาน้ำจืดต่างๆ
             3.3 ทุ่งหญ้าหรือแหล่งปลูกพืชผักที่มีเศษผักและหญ้าที่หาง่าย เป็นแหล่งเลี้ยงโคเนื้อโคนม กระบือ แพะ แกะ
             3.4 แหล่งที่หาซื้อพืชไร่ได้ง่าย เป็นแหล่งเลี้ยงไก่ไข่ ไก่เนื้อ สุกร เป็ด ห่าน
             3.5 แนวโน้มในอนาคตคือสัตว์ชนิดใหม่ เช่น หมูป่า เนื้อกวาง นกกระจอกเทศ จระเข้ และผึ้งเพื่อการบริโภคเป็นต้น



     4. การพัฒนาอาชีพการเกษตร

             การพัฒนาอาชีพการเกษตร ในปัจจุบันเป็นสิ่งสำคัญมากเนื่องจากความต้องการกับผลผลิตไม่สมดุลกัน จึงต้องมีการพัฒนาให้ทันกับความต้องการโดยมีวิธีการดังต่อไปนี้
             4.1 การพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีในการเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีทั้งคุณภาพและปริมาณสูง เช่น การพัฒนาอุปกรณ์ การให้อาหารสัตว์ ทำให้สัตว์กินอาหารได้มาก เป็นต้น
             4.2 การลดต้นทุนในการผลิต โดยพิจารณาสาเหตุของการทำให้ค่าใช้จ่ายสูงและหาทางป้องกันและแก้ไขได้แก่
                    4.2.1 ป้องกันโรคระบาดของสัตว์โดยฉีดวัคซีนหรือปลูกฝีก่อนที่จะเกิดโรคระบาด
                    4.2.2 ป้องกันการพาเชื้อโรคมาจากแหล่งอื่นๆ โดยคนและสัตว์เป็นพาหะ
                    4.2.3 ใช้อาหารที่มีคุณภาพแต่ราคาถูกอาจผสมอาหารเอง
                    4.2.4 ป้องกันโรคและแมลงระบาดตั้งแต่โรคเริ่มระบาด
                    4.2.5 กำจัดแหล่งศัตรูของสัตว์ เช่น พงหญ้ารก เศษกองขยะ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์และเชื้อโรคต่างๆ
                    4.2.6 ใช้เทคนิคใหม่ๆทำให้ค่าใช้จ่ายน้อยลง ในการปราบแมลง เช่น การใช้พลังงานไฟฟ้าในการเลี้ยงสัตว์
             4.3 การเพิ่มผลผลิต มีแนวทางในการศึกษาทดลองอย่างหลากหลายเพื่อหาสิ่งใหม่ๆและทำให้เกิดการพัฒนาดีขึ้นกว่าเดิมได้แก่
                    4.3.1 การใช้พันธุ์ดีจะทำให้มีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น แต่อาหารก็ต้องดีตามไปด้วยทำให้การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และผลผลิตสูง
                    4.3.2 สิ่งแวดล้อมดีการทำคอก เล้า หรือโรงเรือน ควรพิจารณาทำเลที่เหมาะสม อากาศถ่ายเทได้ดี ทำให้สัตว์อารมณ์ดี กินอาหารได้มาก โตเร็ว แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยบ่อย
                    4.3.3 การใช้อาหารเสริม ปัจจุบันมีการให้อาหารเสริม เช่น วิตามิน เกลือแร่ สารปฏิชีวนะ ทำให้โตเร็วและคุ้มค่าต่อการลงทุนซึ่งมีทั้งประเภทสำเร็จรูปและผสมเองควรมีการทดลองก่อนแล้วจึงนำไปใช้
             4.4 การรวมกลุ่มของเกษตรกร เนื่องจากเกษตรกรขายผลผลิตไม่ได้ หรือได้ในราคาต่ำ ทำให้สภาพเศรษฐกิจย่ำแย่ตลอดไป แนวทางที่จะช่วยได้คือการรวมกลุ่มการจำหน่ายร่วมกันซึ่งจะทำให้สามารถกำหนดราคาเองต่อรองราคาได้ ทำให้ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตกอยู่ในเกษตรกรมากกว่าพ่อค้าคนกลาง
             4.5 ไร่นาสวนผสม เป็นการผสมผสานของเกษตรกรรมทั้งการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ทำไร่ ทำนา ทำสวน และนำผลผลิตมาหมุนเวียนให้ได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน เช่น ปลูกข้าวโพด ใช้ต้นที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวไปใช้เลี้ยงวัว มูลวัว ใช้ทำก๊าซหุงต้มและทำปุ๋ยหรือปลูกพืชหลายชนิดให้สามารถเก็บเกี่ยวได้ระยะเวลาต่างกันเป็นต้น



     5. ประเภทของสัตว์เลี้ยงเพื่อจำหน่าย

             สัตว์เลี้ยงเพื่อจำหน่ายมีหลายประเภทดังนี้
             5.1 สัตว์ทั่วไปที่เป็นความต้องการของตลาด เช่น เป็ด ไก่ หมู วัว กุ้ง หอย ปู ปลา เป็นต้น เป็นอาหารพื้นฐานที่มีคนนิยมบริโภค โดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นคนต่างชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม
             5.2 สัตว์เป็นที่นิยมเฉพาะบางกลุ่ม แต่อาจมีปริมาณคนบริโภคสูงมาก เช่น แพะ แกะ เป็นต้น
             5.3 เป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ที่มีผู้นิยมบริโภคสูง สามารถจำหน่ายได้ง่ายและสม่ำเสมอเช่น ผึ้งและผลิตภัณฑ์ ตั๊กแตน เป็นต้น ซึ่งมีกลุ่มผู้บริโภคอยู่จำนวนมากพอสมควร และมีการลงทุนต่ำ ปัจจุบันมีสัตว์เลี้ยงประเภทนี้ออกจำหน่ายและส่งเสริมการผลิตด้วยจึงน่าจะเป็นทางเลือกที่สดใส

ที่มา  http://nongfuang.blogspot.com/2012/08/blog-post_20.html

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


kruvassanun

สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
การงานอาชีพและเทคโนโลยี