วิธีเลี้ยงไก่ไข่

การเลี้ยงไก่ไข่

 

ประวัติและความเป็นมาของการเลี้ยงไก่ไข่ในประเทศไทย

                ในอดีตการเลี้ยงไก่ในประเทศไทย มีการเลี้ยงตามบ้านเล็กๆ น้อยๆ เพื่อกินเนื้อกินไข่ คือ เลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติให้ไก่อาศัยตามใต้ถุนบ้าน ชายคา โรงนา และต้นไม้ พันธุ์ไก่ที่เลี้ยงจะเป็นไก่พันธุ์เมือง เช่น ไก่แจ้ ไก่อู และไก่ตะเภา

                ในปี พ.ศ. 2467 หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤษดากร ได้นำไก่พันธุ์เล็กฮอร์นมาเลี้ยงแบบทันสมัย เพื่อการค้าเป็นครั้งแรก แต่การเลี้ยงไก่ไม่พัฒนาเท่าที่ควร เนื่องจากในสมัยนี้ไม่มีวัคซีนและยาเพื่อป้องกัน และรักษาโรคไก่

                ในปี พ.ศ. 2484 หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ กรม    ปศุสัตว์ ได้ร่วมมือกันทดลองเลี้ยงไก่พันธุ์ต่างๆ ที่แผนกสัตว์เล็ก บางเขน แต่พอมีไก่เต็มโรงเรือนและมีการแข่งขันไก่ไข่ดกเป็นทางการขึ้นเป็นครั้งแรก ก็เกิดสงครามหาเอเชียบูรพาขึ้น ทำให้การเลี้ยงไก่ไข่ดกต้องหยุดชะงักไประยะหนึ่ง

                ต่อมาในปี พ.ศ. 2492 ได้สั่งไก่พันธุ์โร็ดไอส์แลนด์แดง จากประเทศสหรัฐอเมริกาและพันธุ์ออสตราล็อปจากประเทศออสเตรเลีย เข้ามาทดลองเลี้ยงและส่งเสริมให้ประชาชนเลี้ยงเป็นอาชีพ รงมทั้งได้สั่งไก่พันธุ์อื่นๆ เข้ามาเลี้ยงเช่น พันธุ์ไก่พันธุ์บาร์พลีมัทร็อค ไก่พันธุ์นิวแฮมเชียร์ เป็นต้น และในปี พ.ศ. 2489 นี้เองเป็นปีที่มีการตื่นตัวในการเลี้ยงไก่อย่างมาก เนื่องจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นและจอมพลผิน ชุณหวัณ รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและประธานกรรมการการส่งเสริมปศุสัตว์แห่งชาติ ให้การสนับสนุนและส่งเสริมการเลี้ยงไก่เป็นอย่างมาก

                ต่อมาในราวปี พ.ศ. 2494 - 2495  ได้มีการเลี้ยงไก่ลูกผสม เพื่อให้ได้ไข่ดกและทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศของเมืองไทย เช่น พันธุ์ออสตราไวท์โร็ดบาร์ เป็นต้น นอกจากนี้องค์การอาหารและเกษตรขององค์การสหประชาชาติยังได้ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงไก่และโรคไก่เข้ามาช่วยเหลือและส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ในประเทศไทย อีกทั้งกรมปศุสัตว์ได้ทำการศึกษา ทดลองและผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ในการเลี้ยงไก่ไข่ ได้มีการศึกษาการใช้ตู้ฟักไฟฟ้าขนาดใหญ่ ทดลองใช้ใบกระถิ่นและน้ำมันตับปลาเป็นส่วนผสมของอาหารไก่ ทดลองการเลี้ยงไก่ไข่แบบขังกรง และผลิตวัคซีนเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นเลี้ยงไก่ขึ้น ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การเลี้ยงไก่ไข่เริ่มเป็นที่ยอมรับของประชาชนมากขึ้น จนกลายเป็นอาชีพที่สำคัญอาชีพหนึ่งของคนไทยในปัจจุบัน

 

พันธุ์ไก่ไข่

                พันธ์ไก่ไข่ที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทยในปัจจุบันส่วนมากแล้วเป็นพันธุ์ที่นำมาจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้มีการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์มาเป็นอย่างดีแล้ว เช่น ไข่ฟองโต และให้ไข่ทน พันธุ์ไก่ไข่ที่มีการเลี้ยงกันมากในขณะนี้แบ่งออกได้ 3 ประเภทด้วยกันคือ

                ไก่พันธุแท้ เป็นไก่ที่ได้รับการคัดเลือกและผสมพันธุ์เป็นอย่างดีของนักผสมพันธุ์ จนลูกหลานในรุ่นต่อๆ มา มีลักษณะรูปร่าง ขนาด สี และอื่นๆ เหมือนบรรพบุรุษไก่พันธุ์แท้เคยได้รับความนิยมมากในสมัยหนึ่งสำหรับไก่ไข่พันธุ์แท้ที่ยังเลี้ยงกันอยู่ในประเทศไทยมีดังนี้

  1. โร๊ดไอส์แลนด์แดง หรือที่เรียกสั้นว่า ไก่โร๊ด เป็นไก่พันธุ์เก่าแก่พันธุ์หนึ่ง มีอายุกว่า 100 ปี โดยการ

ผสมและคัดเลือกพันธุ์มาจากพันธุ์มาเลย์แดง ไก่เซียงไฮ้แดง ไก่เล็กฮอร์นสีน้ำตาล ไก่ไวยันดอทท์ และไก่บราห์มาส์ ไก่พันธุ์โร๊ดไอส์แลนดืแดงมี 2 ชนิดคือ ชนิดหงอนกุหลาบและชนิดหงอนจักรแต่ที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายเป็นชนิดหงอนจักร

ไก่โร๊ดไอส์แลนด์แดงหงอนจักรมีรูปร่างค่อนข้างยางและลึก เหมือนสี่เหลี่ยมยาว ขนมีสีน้ำตาลแกมแดง หงอนจักร ผิวหนังและแข้งสีเหลือง แผ่นหูมีสีแดง เปลือกไขมีสีน้ำตาล ลักษณะนิสัยเชื่อง แข็งแรง สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เริ่มให้ไข่เมื่ออายุระหว่าง 5 ½ -6 เดือน ให้ไข่ปีละประมาณ 280 – 300 ฟอง น้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มที่เพศผู้หนัก 3.1 – 4.0 กิโลกรัม เพศเมียหนัก 2.2 – 4.0 กิโลกรัม สมัยก่อนนิยมเลี้ยงเป็นไก่ไข่เพราะให้ไข่ดก แต่ปัจจุบันนิยมเลี้ยงเป็นไก่ต้นพันธุ์ ในการผลิตไก่ไข่ลูกผสมทางการค้า เพื่อให้ได้ลูกผสมที่สามารถคัดเพศได้เมื่ออายุ 1 วัน โดยดูความแตกต่างของสีขน ไก่ไข่เพื่อการค้าในปัจจุบันที่ให้ไข่เปลือกสีน้ำตาลนั้น มักมาจากการผสมข้ามพันธุ์ของไก่โร๊ดไอส์แลนด์แดงหงอนจักรกับไก่พันธุ์บาร์พลีมัทร็อคลูกผสมที่จะได้ให้ไข่ดกไข่เปลือก มีสีน้ำตาลและให้ไข่ฟองโต

                 2. บาร์พลีมัทร็อค หรือที่เรียกกันว่า ไก่บาร์ เป็นไก่พันธุ์พลีมัทร็อคที่มีขนบาร์ คือมีสีดำสลับกับขาวตามขวางของขน หงอนจักร ผิวหนังสีเหลือง ให่ไข่เปลือกสีน้ำตาล เริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 5 ½ - 6 เดือน เป็นพันธุ์ที่ได้มีการผสมและคัดเลือกพันธุ์ขึ้นเมื่อประมาณ ค.ศ. 1865 โดยการผสมระหว่างไก่ตัวผู้พันธุ์โดมินิคกับไก่ตัวเมียพันธุ์โคชินดำหรือจาวรดำ เคยเป็นไก่ที่ได้รับความนิยมเลี้ยงเป็นไก่ไข่อยู่ระยะหนึ่งเมื่อประมาณ 27 ปีก่อน ปัจจุบันใช้เป็นสายแม่ผสมกับไก่ตัวผู้พันธุ์โร๊ดไอส์แลนด์แดงหรือพันธุ์นิวแฮมเชียร์ ลูดผสมที่ได้จะสามารถคัดเพศเมียเมื่ออายุ 1 วันได้ โดยลูกผสมตัวเมีย จะมีขนสีดำและให้ไข่ดก ส่วนลูกผสมตัวผู้มีสีบาร์ ปัจจุบันไก่บาร์พลีมัทร็อคยังนิมใช้เป็นสายแม่ผสมกับไก่ตัวผู้โร็ดไอส์แลนด์แดง เพื่อผลิตลูกผสมชนิดคัดเพศได้เมื่อแรกเกิดโดยดูจากสีของขน

             3.  เล็กฮอร์นขาวหงอนจักร จัดเป็นไก่พันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายที่สุดในบรรดาไก่เล็กฮอร์นด้วยกัน เป็นพันธุ์ที่มีขนาดเล็ก ขนสีขาว ให้ไข่เร็ว ให้ไข่ดก ไข่เปลือกสีขาว มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหารค่อนข้างสูงเพราะมีขนาดเล็ก ทนต่ออาการศร้อนได้ดี เริ่มให่ไข่เมื่ออายุ 4 ½ - 5  เดือน ให้ไข่ปีละประมาณ 300 ฟอง น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่เพศผู้หนัก 2.2 – 2.9 กิโลกรัม เพสเมียหนัก 1.8 – 2.2 กิโลกรัม ปัจุบันนิยมใช้ไก่พันธุ์เล็กฮอร์นขาวหงอนจักรผสมข้ามสายพันธุ์ตั้งแต่สองสายพันธุ์ขึ้นไป เพื่อผลิตเป็นไก่ไข่ลูกผสมเพื่อการค้า

ไก่ลูกผสม เป็นไก่ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างไก่พันธุ์ 2 พันธุ์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ได้ไก่ที่ให้ไข่ดก เพื่อเป็นการผลิตไข่ในราคาที่ถูกที่สุด ส่วนมากแล้วการผสมไก่ประเภทนี้ลูกผสมที่ได้จะมีลักษณะที่ดีกว่าพ่อแม่พันธุ์ โดยเฉพาะความทนทานต่อโรค ไก่ลูกผสมที่ยังมีผู้นิยมเลี้ยงอยู่บ้างได้แก่ ไก่ลูกผสมระหว่างพ่อโร๊ด + แม่บาร์, + พ่อบาร์ + แม่โร๊ด,เล็กฮอร์น + โร็ด, โร็ด + โฮบรีด  และลูกผสม 3 สายเลือด คือ ลูกตัวเมียที่ได้จากลูกผสมพ่อโร็ด + แม่บาร์ นำไปผสมกับพ่อไก่อู ลูกผสมที่ได้มีเนื้อดี โตเร็ว และไข่ดีพอสมควร เหมาะสำหรับนำไปเลี้ยงเป็นรายได้เสริม

ไก่ไฮ – บรีด เป็นไก่พันธุ์ไข่ที่มีผู้นิยมเลี้ยงกันมากที่สุดในปัจจุบัน เป็นพันธุไก่ที่ผสมขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งบริษัทผู้ผลิตลูกไก่พันธุ์ไข่จำหน่ายได้มีการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ให้ได้ไก่พันธุ์ที่ให่ผลผลิตไข่สูง และมีคุณภาพตามความต้องการของตลาด คือ ให้ไข่ดก เปลือกไข่สีน้ำตาล ไข่ฟองโตและไข่ทน ไก่ไฮ – บรีดจะมีลักษณะเด่นประจำพันธุ์และมีข้อมูลประจำพันธุ์อย่างละเอียด เช่น อัตราการเจริญเติบโต เปอร์เซ็นการไข่ ระยะเวลาในการให้ไข่ ขนาดของแม่ไก่ อัตราการเลี้ยงรอด ขนาดของฟองไข่ สีของเปลือกไข่ ปริมาณอาหารที่กิน เป็นต้น อย่างไรก็ตามไก่ –ไฮบรีดนี้ต้องเลี้ยงด้วยอาหารที่มีคุณภาพสูง มีการจัดการที่ถูกต้อง เช่น การควบคุมน้ำหนักตัว การควบคุมการกินอาหาร การควบคุมแสงสว่าง ตลอดทั้งการสุขาภิบาลและการป้องกันโรคที่ดี

ด้วยเหตุนี้ที่ไก่ไฮ-บรีดส่วนใหญมีการผสมพันธุ์ที่ดำเนินการโดยบริษัทผลิตพันธุ์ไก่ไข่เป็นการค้า ซึ่งจะรักษาไก่ต้นพันธุ์และระบบการผสมพันธุ์ไว้เป็นความลับเพื่อผลประโยชน์ในทางการค้า ไก่ไข่ไฮ-บรีดจึงมีชื่อแตกต่างกันออกไปตามแต่บริษัทผู้ผลิตลูกไก่พันธุ์ไข่จะตั้งขึ้น ที่นิยมเลี้ยงกันในประเทศไทยได้แก่ ดีคาร์บ, ซุปเปอร์ฮาร์โก้, เอ-เอบราวน์ เป็นต้น

 

อุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่ไข่

                การเลี้ยงไก่ไข่เป็นอาชีพหรืเพื่อการค้าจำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์การเลี้ยงที่จำเป็นและที่สำคัญนับตั้งแต่ระยะลูกไก่จนถึงระยะให้ไข่ ดังนี้

  1. อุปกรณ์การให้อาหาร มีอยู่หลายแบบแต่ที่นิยมใช้กันมากมี 4 ชนิดดังนี้

1.1      ถาดอาหารขนาด 48 x 72 x 6.5 เซนติเมตร ( กว้าง x ยาว x สูง ) จำนวน 1 ถาด ใช้กับลูกไก่อายุ 1-7

วันได้จำนวน 100 ตัว วางไว้ใต้เครื่องกก เพื่อหัดไก่กินอาหารเป็นเร็วขึ้น

                1.2  รางอาหาร รางอาหารทำด้วยไม้ สังกะสี เอสล่อนหรือพลาสติกทำเป็นรางยาวให้ไก่ยืนกินได้ข้างเดียวหรือสองข้าง ที่มีจำหน่ายโดยทั่วไปมี 2 ขนาดคือ ขนาดเล็กสำหรับลูกไก่  และขนาดใหญ่ใช้กับไก่อายุประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไป นอกจากนี้รางอาหารอาจทำจากปล้องไม้ไผ่ที่มีขนาดใหญ่ก็ได้

                1.3  ถังอาหาร ถังอาหารไก่ทำด้วยเอสล่อนหรือพลาสติก เป็นแบบถังแขวนมีขนาดเดียวเป็นมาตรฐาน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 นิ้ว มีเส้นรอบวงประมาณ 50 นิ้ว หลังจากลูกไก่อายุได้ 15 วัน อาจใช้ถังอาหารแบบแขวนได้ และให้อาหารด้วยถังตลอดไป การให้อาหารด้วยการใช้ถังแขวนนี้ ต้องปรับให้อยู่ในระดับเดียวกับหลังไก่หรือต่ำกว่าหลังไก่เล็กน้อย อาหารจะไหลลงจานล่างได้โดยอัตโนมัติ และควรเขย่าถังบ่อยๆ เพื่อไม่ให้อาหารติดค้างอยู่ภายในถัง สำหรับจำนวนถังสำหรับถังที่ใช้จะแตกต่างไปตามอายุของไก่

                1.4  รางอาหารแบบอัตโนมัติ โรงเรือนขนาดกว้างประมาณ 10-12 เมตร ใช้รางอัตโนมัติ 2 แถว แล้วเพิ่มถังอาหารแบบแขวนจำนวน 6-8 ถัง ต่อไก่จำนวน 1000 ตัว แต่ถ้าโรงเรือนที่มีความกว้างเกิน 12 เมตร ควรตั้งรางอาหารเกิน 4 แถว

  1. อุปกรณ์ให้น้ำ อุปกรณ์ให้น้ำไก่จะแตกต่างกันไปตามช่วงอายุของไก่ อุปกรณืให้น้ำที่นิยม มีอยู่ 2

แบบ ดังนี้

2.1  แบบรางยาว รางน้ำอาจทำด้วยสังกะสี พลาสติกหรือเลสล่อน การเลี้ยงลูกไก่อายุ 1-3 สัปดาห์ ถ้าใช้รางน้ำที่เข้าไปกินได้ด้านเดียว ควรใช้รางยาว 2-2.5 ฟุตต่อลูกไก่ 100 ตัว สำหรับไก่อายุ 3 สัปดาห์ไปให้เพิ่มอีก 3 เท่า  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อนควรเพิ่มขึ้นอีก สำหรับไก่ในระยะไข่ควรให้มีเนื้อที่รางประมาณ 1 นิ้ว ต่อไก่ 1 ตัว

2.2  แบบขวดมีฝาครอบ เป็นภาชนะให้น้ำที่นิยมใช้กันมากเพราะใช้สะดวกมีขายอยู่ทั่วไป มีหลายขนาด หรือเกษตรกรอาจดัดแปลงจากวัสดุเหลือใช้ เช่น กระป๋องนมเปล่าที่เป็นอะลูมิเนียม เจาะรูที่ด้านเปิดให้ห่างจากขอบประม าณ 1 เซนติเมตร จำนวน 2 รู ใส่น้ำสะอาดแล้วคว่ำลงบนจานหรือถาดใช้เลี้ยงลูกไก่ในระยะ 1-2 สัปดาห์แรกใช้ขวดน้ำขนาดบรรจุ 2 แกลลอน ในอัตราส่วน 2 ใบ ต่อลูกไก่ 100 ตัว เมื่อไก่อายุ 3-6 สัปดาห์ ใช้ขวดน้ำขนาดบรรจุ 2 แกลลอน ควรใช้ 2 ใบต่อลูกไก่ 100 ตัว

3. เครื่องกกลูกไก่  เครื่องกกลูกไก่เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากในการเลี้ยงลูกไก่ ทำหน้าที่ให้ความอบอุ่นแทนแม่ไก่ในขณะที่ลูกไก่ยังเล็กอยู่ซึ่งมีหลายแบบ ดังนี้

3.1  เครื่องกกแบบฝาชี เป็นเครื่องกกที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายกว่าเครื่องกกแบบอื่น มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน ส่วนมากมีรูปร่างกลมหรือเป็นเหลี่ยม ทำด้วยโลหะช่วยให้สะท้อนลงสู่พื้นกก ขนาดของกกแบบฝาชีโดยทั่วไปมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 เมตร สามารถกกลูกไก่ได้ประมาณ 500 ตัว เครื่องกกแบบฝาชีอาจจะเป็นห้อยแขวนกับเพดานสามารถปรับให้สูงต่ำได้ตามความต้องการ เมื่อไม่ต้องการใช้ก็สามารถดึงขึ้นเก็บไว้หรืออาจเป็นแบบมีขาวางกับพื้นคอกที่สามารถปรับให้สูงต่ำได้ และยกออกจากบริเวณกกเมื่อไม่ต้องการใช้ เครื่องกกแบบนี้ส่วนมากจะใช้ไฟฟ้า น้ำมันหรือแก๊ส เป็นแหล่งให้ความร้อน

3.2  เครื่องกกแบบหลอดอินฟราเรต การกกด้วยเครื่องกกแบบนี้โดยใช้หลอดไฟอินฟราเรต ซึ่งหลอดไฟอินฟราเรตขนาด 250 วัตต์  1 หลอดแขวนไว้เหนือพื้นดินประมาณ 45.60 เซนติเมตร จะสามารถกกลูกไก่ได้ประมาณ 60-100 ตัว แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้หลอดอินฟราเรตจำนวน 4 หลอดต่อกก ความร้อนที่ได้จากหลอดไฟจะไมาช่วยให้อากาศรอบๆ อุ่น แต่จะให้ความอบอุ่นโดยตรงแก่ลูกไก่

3.3                              เครื่องกกแบบรวม เป็นการกกลูกไก่จำนวนมากๆ โดยให้ความร้อนจากแหล่งกลางแล้วปล่อยความร้อนตามท่อในรูปของน้ำร้อนหรือไอน้ำ วางท่อไปตามความยาวของโรงเรือนตรงกลางใต้คอนกรีต อย่างไรก็ดีการให้ความร้อนจะไม่ทั่วพื้นคอนกรีตทั้งคอก แต่จะให้เฉพาะตงส่วนกลางไปตามความยาวของโรงเรือน กว้างเพียง 2.25 เมตรเท่านั้น นอกจากนี้การกกแบบรวมอาจปล่อยความร้อนออกมาในรูปของลมร้อนออก มาตามท่อกระจายไปทั่วทั้งคอก ซึ่งแหล่งให้ความร้อนได้จากน้ำมัน แก๊ส ถ่านหิน หรือไม้ฟืน เป็นต้น

การเลี้ยงลูกไก่ในระยะกกจำเป็นจะต้องมีที่สำหรับล้อมเครื่องกก ซึ่งอาจจะเป็นไม้กระดานหรือสังกะสีแผ่นเรียบ หรือลวดตาข่ายหรือกระดาษแข็งก็ได้ ที่มีความสูง

4.  รังไข่ รังไข่ที่ดีต้องมีขนาดกว้างพอ สามารถเคลื่อนย้ายได้ ทำความสะอาดได้ง่าย มีการระบายอากาศได้ดี เย็น ภายในมีความมืดพอ และวางอยู่ในที่มีเหมาะสมภายในโรงเรือนไก่ไข่ รังไข่อาจทำด้วยไม้หรือสังกะสี รังไข่ที่ทำด้วยไม้อาจจะมีปัญหาเรื่องการทำความสะอาด และจะเป็นที่อาศัยของไรแดง รังไข่ที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไปมีดังนี้

4.1                              รังไข่เดี่ยว เป็นรังไข่ที่ใช้กันทั่วไปในประเทศ มีลักษณะเป็นแถวยาวละ 4-6 ช่วงแต่ละช่องมีขนาดกว้าง 25-30 เซนติเมตร สูง 30-35 เซนติเมตร และลึก 30-35 เซนติเมตรด้านหน้าเปิดมีขอบสูงจากพื้นรังไข่ประมาณ 8-10 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไข่และสิ่งรองรังไข่หลุดอกมาจากรังไข่ ด้านหลังอาจมีการปิดด้วยลวดตาข่ายตาห่าง เพื่อช่วยให้มีการระบายอากาศได้ดีขึ้น ด้านหน้ารังไข่ควรมีคอนให้ไก่เกาะเพื่อเข้าไปไข่ในรังได้สะดวก คอนเกาะหน้ารังไข่ รังไข่อาจวางเรียงเป็นแถวชั้นเดียวหรือวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ 2-3 ชั้น โดยให้ชั้นล่างสูงจากพื้นคอกประมาณ 45 เซนติเมตร ส่วนหลังคาของรังไข่ชั้นบนสุด ควรให้ลาดชันหรือมีลวดตาข่ายปิดกั้น เพื่อป้องไก่บินขึ้นไปเกาะและนอนในเวลากลางคืน อัตราส่วนของรังไข่ 1 ต่อ แม่ไก่ 4-5 ตัว

4.2  รังไข่แบบไหลออก เป็นรังไข่ที่นิยมใช้กันมาก ในการเลี้ยงไก่ไข่บนพื้นไม้ระแนง พื้นไม้ไผ่หรือพื้นคอนกรีต รังไข่แบบนี้อาจตั้งเดี่ยวหรืออาจวางซ้อนกันเป็นแถว โดยพื้นของรังไข่ทำเศษตาข่ายมีความลาดเอียงประมาณ 10 องศา ซึ่งทำให้ไข่กลิ้งออกมาตามแนวลาดเอียงติดอยู่นอกรัง ทำให้ผู้เลี้ยงสามารถเก็บไข่ไก่ได้โดยไม่ต้องเข้าไปในโรงเรือน นับได้ว่าเป็นรังไข่ที่สะดวกกว่ารังไข่แบบอื่นมาก

5.  วัสดุรองพื้น  วัสดุรองพื้น หมายถึง วัสดุที่ใช้รองพื้นคอกเลี้ยงไก่ควรหาได่ง่ายในท้องถิ่น ราคาถูก และเมื่อเลิกใช้แล้วสามรถนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้อย่างดี

วัสดุรองพื้นที่เหมาะสำหรับใช้ในประเทศไทยและนิยมใช้กันทั่วไปได้แก่ แกลบ ขี้กบ ขี่เลื่อย ชานอ้อย ฟางข้าว วังข้าวโพด ต้นข้าวโพด เปลือกฝ้าย เปลือกถั่วลิสง เปลือกไม้และทราย ถ้าใช้แกลบควรมีฟางโรยหน้าบางๆ เพื่อป้องกันไก่คุ้ยแกลบลงไปในรางน้ำและรางอาหาร

6.  อุปกรณ์การให้แสง เนื่องจาดแสงสว่างมีความจำเป็นต่อการมองเห็นของไก่ ไม่ว่าเวลากินอาหาร กินน้ำ หรืออื่นๆ นอกจากนี้แสงยังมีความสำคัญต่อการให้ไข่ของไก่  ดังนั้นภายในโรงเรือนจะต้องมีอุปกรณ์การให้แสงสว่างอย่างเพียงพอ โดยทั่วไปนิยมติดตั้งหลอดไฟ หลอดไฟที่นิยมใช้กันมากคือ หลอดกลมธรรมดา และหลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดนีออน

โปรแกรมการให้แสงสว่าง

ปกติแสงสว่างจะมีอิทธิพลทำให้ไก่ไข่ช้าขึ้นหรือเร็วกว่ามาตรฐาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยาวของวันและความเข้มของแสง สำหรับในประเทศไทยความยาวของวันแตกต่างกันประมาณ 2-3 ชั่วโมง ( ช่วงแสง 11-13 ชม.) ดังนั้น ควรให้ระดับแสงคงที่อยู่ที่ 13 ชั่งโมงต่อวัน อย่างไรก็ตามผู้เลี้ยงที่ไม่ใช้ไฟฟ้าก็ไม่ประสบปัญหาอย่างใด เพราะจะไม่กระทบต่อผลผลิตมากนัก แต่ผู้เลี้ยงควรจะเลี้ยงไม่ให้น้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน

กฎของการให้แสงสว่างในการเลี้ยงไก่คือ

  1. ความยาวของแสงจะไม่เพิ่มขึ้นในช่วง 8-16 สัปดาห์
  2. ไม่ลดความยาวของแสงหลังจากไก่เริ่มไข่

การให้แสงสำหรับไก่ในประเทศไทย ขอแนะนำดังนี้

อายุ

ความยาวของแสง

0-2 วัน

3-4 วัน
5-6 วัน

7-8 วัน

9-10 วัน

11 วัน –16 สัปดาห์

17 สัปดาห์

18

19

20

21

22

 

22 ชั่วโมง

20 ชั่วโมง

18 ชั่วโมง

16 ชั่วโมง

14 ชั่วโมง

13 ชั่วโมง

13 ½ ชั่วโมง

14          ชั่วโมง

14 ½ ชั่วโมง

15          ชั่วโมง

15          ½ ชั่วโมง

16          ชั่วโมง

 

ข้อแนะนำสำหรับความเข้มของแสง

อายุ

ความเข้มของแสง

ข้อแนะนำการใช้หลอดกลมมีไส้

 

ลักซ์

ฟุต - แรงเทียน

วัตต์

0 – 3 วัน

4                    วัน –126 วัน

5                    127 วัน - ปลด

20

5

5

 

2.0

0.5

0.5

40 –60

15

15

 

                7.  ผ้าม่าน ในระยะกกลูกไก่รอบๆ คอกมีผ้าม่านไว้เพื่อป้องกันลมพัดแรงโดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว การปิดผ้าม่านจะทำให้อุณหภูมิภายในโรงเรือนและอุณหภูมิใต้เครื่องกกอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่างรวดเร็ว สำหรับการกกลูกไก่ในฤดูร้อนควรเปิดม่านขึ้นเล็กน้อยในเวลากลางวัน เพื่อให้ลมพดผ่านภายในโรงเรือน และปิดม่านในตอนเย็น

                8.  คอนนอน การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยพื้นโดยเฉพาะในระยะไก่สาว มีความจำเป็นจะต้องทำคอนนอนสำหรับให้ไก่ได้นอน และยังช่วยให้ไก่เย็นสบาย ไม่ร้อนอบอ้าวเหมือนอยู่ในคอก

                คอนนอนอาจทำขึ้นเป็นคอนนอนโดยเฉพาะ โดยใช้ไม้ขนาด 1x4 นิ้ว หรือ 1x3 นิ้ว หรือ 2x3 นิ้ว หรือ 2x2 นิ้วก็ได้ ส่วนความยาวตามความต้องการ ลบเหลี่ยมไม้ให้กลมเพื่อให้ไก่เกาพได้สะดวกและไม่เป็นอันตรายต่อเท้าและหน้าอกไก่ โดยวางเอาด้านแคบขึ้น วางห่างกันประมาณ 33-41 เซนติเมตร ให้มีเนื้อที่คอนนอน 10-15 เซนติเมตรต่อตัวสำหรับไก่สาว และ18-20 เซนติเมตร สำหรับไก่ไข่ ใต้คอนนอนและด้านข้างต้องบุด้วยลวดตาข่ายเพื่อป้องกันไม่ให้ไก่เข้าไปคุ้ยเขี่ยอุจจาระใต้คอนนอน ควรอยู่ติดข้างฝาด้านใดด้านหนึ่งของโรงเรือน ในระยะไก่สาวควรลดระดับด้านหน้าของคอนนอนลงให้ต่ำพอที่ไก่จะขึ้นเกาะคอนได้สะดวก เมื่อไก่โตขึ้นจึงค่อยยกระดับขึ้นให้สูงกว่าในระดับขึ้นให้สูงกว่าในระดับปกติประมาณ 75 เซนติเมตร

 

โรงเรือนในการเลี้ยงไก่ไข่

                การจัดสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่เพื่อการค้านั้น จำเป็นจะต้องจัดสร้างโรงเรือนให้ถูกแบบ มีความแข็งแรง ทนทาน และสามารถใช้เลี้ยงไก่ได้นานปี จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เลี้ยงไก่ไข่จะต้องสร้างโรงเรือนให้ถูกแบบมาตรฐาน ตามสภาพแวดล้อมของประเทศไทย โรงเรือนที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้

  1. สามารถป้องกันแดด ลม และฝน ได้ดี
  2. ป้องกันศัตรูต่างๆ เช่น นก หนู แมว ได้
  3. รักษาความสะอาดได้ง่าย ลักษระที่ดีโรงเรือนคววรเป็นลวด ไม่รกรุงรัง น้ำไม่ขัง
  4. ควรห่างจากบ้านคนพอสมควร ไม่ควรอยู่ทางต้นลมของบ้าน เพราะกลิ่นขี้ไก่อาจจะไปรบกวนได้
  5. ควรเป็นแบบที่สร้างได้ง่าย ราคาถูก ใช้วัสดุก่อสร้างที่หาได้ในท้องถิ่น

6.  หากมีโรงเรือนไก่ไข่หลายๆ หลัง การจัดสร้างไม่ควรให้เป็นเรือนแฝด แต่ควรเว้นระยะห่างของแต่ละโรงเรือนไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทั้งนี้ เพื่อให้มีการระบายอากาศ และความชื้นดีขึ้น

รูปแบบของโรงเรือนไก่ไข่  ลักษณะปละการจัดสร้างโรงเรือนเพื่อเลี้ยงไก่ไข่มีอยู่หลายรูปแบบ การจะสร้างแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์รูปแบบของการเลี้ยง ความยากง่าย ทุน และวัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ แตโดยทั่วไปแล้วโรงเรือนเลี้ยงไก่เท่าที่มีการจัดสร้างในประเทศไทยมีรูปแบบต่างๆ กันดังนี้

1.  แบบเพิงหมาแหงน  จัดเป็นโรงเรือนที่สร้างได้ง่ายที่สุด เพราะไม่สลับซับซ้อน ลงทุนน้อย แต่มีข้อเสียคือ  ถ้าหันหน้าของโรงเรือนเข้าในแนวทางของลมมรสุม ฝนจะกลับเข้าไปในโรงเรือนได้ โรงเรือนแบบนี้ไม่ค่อยมีความทนทานเท่าที่ควร เนื่องจากจะถูกฝนและแดดอยู่เป็นประจำ

2.  แบบหน้าจั่ว  การสร้างโรงเรือนแบบนี้จะสร้างยากกว่าแบบแรก ทั้งนี้เพราะต้องพิถีพิถันในการจัดสร้างมากขึ้น รวมถึงความประณีตด้วย ดังนั้น ค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าแรงงานในการก่อสร้างจึงสูงกว่าแบบแรก แต่โรงเรือนแบบนี้มีข้อดีคือ สามารถป้องกันแดดและฝนได้ดีกว่าแบบเพิงหมาแหวน

3.  แบบจั่วสองชั้น  ลักษณะของโรงเรือนแบบนี้จะสร้างได้ยากกว่าสองแบบแรก แต่มีข้อดีคือ อากาศภายในโรงเรือนแบบนี้จะเย็นกว่าสองแบบแรกมาก ทั้งนี้เพราะจั่วสองชั้นจะเป็นที่ระบายอากาศร้อนได้ดี ทำให้ไก่อยู่ได้อย่างสบายโดยไม่เกิดควมเครียด

4.  แบบหน้าจั่วกลาย  โรงเรือนแบบนี้มีคุณสมบัติดีกว่าแบบเพิงหมาแหวน กันฝนได้มากขึ้น แต่ค่าก่อสร้างจะสูงกว่าแบบเพิงหมาแหงน

5.  แบบเพิงหมาแหวนกลาย  ลักษณะของโรงเรือนแบบนี้จะดีกว่าแบบเพิงหมาแหงนและแบบหน้าจั่ว ทั้งนี้เพราะมีการระบายอากาศร้อน กันฝน กันแดดได้ดีกว่าและข้อสำคัญคือค่าก่อสร้างจะถูกกว่าแบบหน้าจั่วกลาย

 

วิธีเริ่มต้นเลี้ยงไก่ไข่

ผู้เลี้ยงที่ยังไม่มีความรู้ความชำนาญงานประเภทนี้ ควรเริ่มต้นหัดเลี้ยงด้วยไก่จำนวนน้อย เพื่อศึกษาหาความรู้ความชำนาญเสียก่อน สำหรับผู้ที่มีความรู้และชำนาญแล้ว อาจเริ่มต้นเลี้ยงตามขนาดของทุนและสถานที่ ถ้าเริ่มต้นด้วยไข่ฟัก หรือลูกไก่ ก็ย่อมลงทุนถูก หากเริ่มต้นด้วยไก่ใหญ่ ก็อาจต้องใช้ทุนมาก โดยทั่วไปผู้เลี้ยงอาจเริ่มจากระยะไหนก็ได้ อาทิเช่น

1. เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงลูกไก่อายุ 1 วัน เป็นวิธีที่มีผู้เลี้ยงนิยมกันมากเนื่องจากลงทุนน้อย ผู้เลี้ยงสามารถเลี้ยงไก่ได้ตลอดเวลาด้วยตัวเอง สามารถที่จะดูแลเอาใจใส่ได้อย่างเต็มที่ ได้รู้ประวัติของไก่ทั้งฝูงตลอดเวลา จึงทำให้ได้ฝึกฝนการเลี้ยงไก่และมีความมั่นใจในการเลี้ยงไก่มากขึ้น แต่การเลี้ยงแบบนี้ต้องใช้เวลานานกว่าไก่จะให้ไข่ เพราะต้องเลี้ยงตั้งแต่ลูกไก่แรกเกิด ซึ่งเป็นงานที่ยุ่งยาก และใช้ความชำนาญค่อนข้างสูง อีกทั้งยังเลี่ยงต่อการตายของไก่ในระยะแรกๆ และจะต้องรอไปอีกเป็นเวลาอย่างน้อยถึง 22 อาทิตย์ ไก่จึงจะเริ่มให้ไก่

2.  เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงไก่รุ่นอายุ 2 เดือน เป็นวิธีที่เริ่มนิยมกันในปัจจุบัน โดยการที่ผู้เลี้ยงซื้อไก่รุ่นอายุ 6 อาทิตย์ จนถึง 2 เดือน มาจากฟาร์มหรือบริษัทที่รับเลี้ยงลูกไก่ เนื่องจากลูกไก่ในระยะนี้ราคายังไม่แพงมากนักและสามารถตัดปัญหาในการเลี้ยงดูลูกไก่และการกกลูกไก่ การเลี้ยงไก่รุ่นอายุ  2 เดือนนี้ มักจะให้อาหารที่มีคุณภาพค่อนข้างต่ำ ราคาถูก การเลี้ยงดูก็ไม่ต้องใช้ความขำนาญมากนัก ผู้ที่เริ่มเลี้ยงไก่เป็นครั้งแรก จึงสมควรเลี้ยงด้วยวิธีนี้

3.  เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงไก่สาว  เป็นวิธีที่ผู้เลี้ยงไก่เป็นอาชีพหรือเพื่อการค้านิยมกันมาก เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาเลี้ยงดูไก่เล็กหรือไก่รุ่น นอกจากนี้โรงเรือนก็สร้างไว้เฉพาะใช้กับไก่ไข่เท่านั้น แต่การเลี้ยงไก่วิธีนี้ต้องใช้ทุนสูง ผู้เลี้ยงจะต้องรู้จักฟาร์มที่ผลิตไก่สาวเป็นอย่างดี ต้องสอบถามถึงประวัติของฝูงไก่สาวที่จะนำมาเลี้ยงได้

 

การเลี้ยงดู

การเลี้ยงดูไก่เล็ก ( อายุ 1 วัน- 6 สัปดาห์)

                การเลี้ยงไก่ในระยะนี้เป็นระยะที่มีความสำคัญมาก ต้องดูแลและเอาใจใส่อย่างมาก เพื่อให้ลูกไก่มีสุขภาพดี สมบูรณ์แข็งแรง และอัตราการเลี้ยงรอดสูง ควรจัดการ ดังนี้

                1.  เมื่อนำลูกไก่มาถึงฟาร์มต้องนำเครื่องกกไก่โดยเร็วที่สุด และเตรียมน้ำสะอาดพร้อมให้กินทันที ถ้าลูกไก่ยังไม่รู้จักที่ให้น้ำต้องสอนโดยการจับไก่เอาปากจุ่มน้ำ 2-3 ครั้ง ควรผสมยาปฏิชีวนะหรือวิตามินให้ลูกไก่กินติดต่อกัน 2-3 วันแรก แต่ถ้าลูกไก่มีลัษณะนอนฟุบ อ่อนเพลียมาก ควรผสมน้ำตาลทรายลงในน้ำผสมยาปฏิชีวนะในอัตรา 5-10% ในระยะ 12 ชั่วโมงแรก

                2.  เมื่อลูกไก่เข้าเครื่องกกได้ 2-3 ชั่วโมง หือลูกไก่เริ่มกินน้ำได้แล้วจึงเริ่มให้อาหารไก่ไข่เล็ก โดยโปรยลงบนถาดอาหาร พร้อมทั้งเคาะถาดเพื่อเป็นการเรียกลูกไก่ให้มากินอาหาร โดยให้กินแบบเต็มที่ ให้น้อยๆ แต่บ่อยครั้ง อย่างน้อยวันละ 3-4 ครั้ง

                3.  ให้แสงสว่างในโรงเรือนเพียง 1-3 แรกเท่านั้น เพื่อให้ลูกไก่คุ้นเคยกับสถานที่ แต่ไฟที่ให้ควรเปิดสลัวๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ไก่เดินเล่นห่างเครื่องกก ภายในเครื่องกกต้องมีแสงไฟอยู่ตลอดเวลาในระยะ 1-3 สัปดาห์

                4.  หมั่นตรวจดูแลสุขภาพไก่โดยสม่ำเสมอ ตรวจอาหารและน้ำ ขวดน้ำต้องล้างและเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกวัน เปลี่ยนวัสดุรองพื้นที่ชื้นแฉะ และระวังอย่าให้ลมโกรกแต่อากาศต้องถ่ายเทได้อย่างสะดวก

                5.  ขยายวงล้อมกกให้กว้างออกไปตามความเหมาะสมทกๆ 5-7 วัน พร้อมทั้งยกเครื่องกกให้สูงขึ้นเล็กน้อย และปรับอุณหภูมิของเครื่องกกให้ต่ำลงสัปดาห์ละ 5 F

                6.  ทำวัคซีนตามกำหนด

  1. ตัดปากลูกไก่เมื่ออายุ 6-9 วัน โดยตัดปากบนออกประมาณ  1/3 ของปาก และจี้ปากล่างด้วยใบมีด

ร้อนๆ

การตัดปาก

จุดประสงค์ของการตัดปาก คือ

  1. เพื่อป้องกันการจิกกัน
  2. เพื่อลดปริมาณการสูญเสียอาหารหกหล่น

การตัดปากที่ถูกวิธี

  1. จับลูกไก่ไว้ในอุ้งมือ ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่หลังหัวลูกไก่
  2. ใช้นิ้วหัวแม่มือกดหัวลูกไก่ให้อยู่นิ่ง
  3. เลือกขนาดรูตัดที่เหมาะสมเพื่อตัดปากลูกไก่ประมาณ 2 มม. จากปลายจมูก
  4.  ใบมีดตัดปากต้องร้อนจนแดง เมื่อกดใบมีดตัดปากไก่แล้วจะต้องคงค้างไว้ประมาณ 2-3 วินาที เพื่อ

ช่วยห้ามเลือด

                การตัดปากไม่ดีนอกจากจะทำให้ไก่กินอาหารและน้ำลำบากแล้ว ปริมาณไข่จากไก่ตัวนั้นย่อมลดลง ดังนั้นการตัดปากทำอย่างประณีต ระยะเวลาตัดปากที่ดีที่สุดประมาณ 7-10 วัน ควรตัดให้ระยะจมูกออกมาไม่ต่ำกว่า 2 มม. ถ้าพบว่าการตัดปากไม่ดีควรทำการแต่งปากเมื่ออายุไม่เกิน 10 สัปดาห์

                8.  เมื่อกกลูกไก่ครบ 21 วัน ให้นำวงล้อมและเครื่องกกออก แต่ต้องระวังอย่าให้ลูกไก่ตื่น เพื่อป้องกันการเครียดก่อนจะเปิดวงล้อมออกจัดเตรียมอุปกรณ์ ดังนี้

-                   ที่ให้อาหาร ใช้แบบถังแขวนในอัตรา 3-4 ใบต่อไก่ 100 ตัว

                -      ที่ให้น้ำ ใช้แบบถังแขวน ในอัตราตามขอบราง 1 นิ้วต่อไก่ 1 ตัว แต่ทั้งที่ให้อาหารและที่ให้น้ำ ต้องคอยปรับให้อยู่ในระดับความสูงเท่ากับหลังไก่เสมอ

9.  การให้กรวด กรวดมีความสำคัญต่อไก่ ในการช่วยบดอาหารที่มีขนาดโตให้ละเอียดขึ้น โดยเริ่มให้ไก่กินกรวดตั้งแต่อายุได้ 3 สัปดาห์ขึ้นไป โดยให้สัปดาห์ละครั้ง ๆ ละ ครึ่งกิโลกรัมต่อไก่ 100 ตัว

  1. ควบคุมและป้องกันสัตว์อื่นๆ ไม่ให้มารบกวน
  2. เริ่มชั่งนำหนักไก่จำนวน 5% ของฝูงเมื่ออายุ 6 สัปดาห์ จดบันทึกปริมาณอาหาร จำนวนไก่ตาย คัด

ทิ้ง สิ่งผิดปกติ การปฏิบัติงาน การใช้ยาและวัคซีนเป็นประจำ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหา และคำนวณต้นทุนการผลิต

 

การเลี้ยงดูไก่รุ่น ( อายุ 7-14 สัปดาห์)

                การเลี้ยงไก่ในระยะนี้ ส่วนใหญ่ไก่จะมีขนงอกเต็มตัวแล้ว และมีผลต่อเนื่องถึงการผลิตไก่สาวที่มีคุณภาพสูงเพื่อให้เป็นแม่ไก่ที่ดี ให้ผลตอบแทนสูง ไก่จะต้องเจริญเติบโต มีโครงสร้างที่ดีมีอวัยวะส่วนที่ใช้ผลิตไข่ที่ดี ต้องไม่อ้วนหรือผอมเกินไปไก่ร่าเริงแจ่มใส และแข็งแรง ควรจัดการ ดังนี้

  1. ควรจัดเตรียมพื้นที่เลี้ยงในอัตราไก่ 5-6 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร
  2. เมื่ออายุ 7 สัปดาห์ ให้เปลี่ยนอาหารจากไก่ไข่เล็กเป็นอาหารไก่ไข่รุ่น  ให้อาหารแบบถังแขวนในอัตรา 4-5 ถังต่อไก่ 100 ตัว หมั่นปรับระดับที่ให้อาหารให้อยู่ในระดับหลังไก่เสมอ และทำความสะอาดที่ให้อาหารอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
  3. จัดเตรียมที่ให้น้ำให้เพียงพอ โดยใช้ในอัตราตามขอบราง 1 นิ้วต่อไก่ 1 ตัว น้ำสะอาดต้องมีให้ไก่กินตลอดเวลา และทำความสะอาดที่ให้น้ำทุกวัน
  4. ดูแลวัสดุรองพื้นอย่าให้แฉะหรือแข็งเป็นแผ่น หรือมีกลิ่นเหม็นของแก๊สแอมโมเนีย ต้องคุ้ยและพลิกกลับอย่างสม่ำเสมอทุกๆ 2-3 วัน และทำความสะอาดบริเวณรอบโรงเรือน พร้อมทั้งกำจัดวัชพืชบริเวณรอบโรงเรือน
  5. ชั่งน้ำหนักตัวไก่ จำนวน 5% ของฝูง ทุกสัปดาห์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานของไก่แต่ละสายพันธ์ เพื่อลดหรือเพิ่มปริมาณอาหารที่จะให้
  6. จดบันทึกเกี่ยวกับการจัดการ จำนวนอาหาร ไก่ตาย คัดทิ้ง การใช้ยาและวัคซีน สิ่งผิดปกติ และการปฎิบัติงาน

น้ำหนักไก่และปริมาณอาหารที่จำกัดให้ไก่ไข่อายุต่างๆ กิน

( ไก่ไข่พันธุ์เบา – กลาง )

อายุ ( สัปดาห์)

อาหาร / 100 ตัว / วัน (กก.)

น้ำหนักไก่ ( กรัม )

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

1.2

1.8

2.3

2.8

3.3

3.8 – 4.0

4.3 – 4.5

4.5 - 5.0

5.0      – 5.5

5.5 – 6.0

6.5      – 6.5 

5.5 – 6.7

6.0 – 6.9

6.0 – 7.0

6.0 - 7.2

6.0 – 7.4

6.5 – 7.5

6.5 – 7.7

6.5 – 7.9

6.5 – 8.0

7.0      – 8.5

7.0 – 9.5

 

 

60

120

195

270

355

430-475

515-575

550-660

650-760

770-850

850-950

900-1040

1000-1135

1050-1220

1100-1320

1150-1400

1200-1500

1230-1600

1280-1680

1330-1780

1380-1800

1420-1900

 

การเลี้ยงดูไก่สาว ( อายุ 15 – 20 สัปดาห์)

                        การเลี้ยงดูไก่สาวจะใกล้เคียงกับการเลี้ยงดูไก่รุ่น แต่ต้องควบคุมปริมาณอาหาร และน้ำหนักตัวของไก่ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของไก่ไข่แต่ละสายพันธุ์ ควรจัดการ ดังนี้

  1. เมื่อไก่อายุ 15 สัปดาห์ ให้เปลี่ยนอาหารจากไก่ไข่รุ่นเป็นไก่ไข่สาว
  2. ควบคุมและกำจัดแมลงต่างๆ
  3. หมั่นตรวจสุขภาพไก่ ทำวัคซีนตามกำหนด และสุ่มชั่งน้ำหนักไก่จำนวน 5 % ขอฝูง ทุกสัปดาห์
  4. ในกรณีที่เลี้ยงแบบรวมฝูงเมื่อไก่อายุ 17 – 18 สัปดาห์ ควรติดตั้งรังไข่ ขาดช่องละ 8x12 นิ้ว ในอัตรา 1 ช่อง ต่อไก่ 4 ตัว
  5. ในกรณีที่เลี้ยงแบบกรงตับ ให้ย้ายไก่ขึ้นกรงตับเมื่ออายุ 18 – 20 สัปดาห์
  6. ควรมีการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด และจัดการด้านสุขาภิบาลที่ดี เพราะไก่กำลังจะเริ่มให้ผลผลิตในการเลี้ยงตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 20 สัปดาห์ อัตราการตายและคัดทิ้งไม่ควรเกิน 10%
  7. ก่อนที่ทำการย้ายไก่ขึ้นกรงตับ ควรกำจัดเหาไร และถ่ายพยาธิก่อน ไก่เริ่มให้ไข่ประมาณ 3 – 4 สัปดาห์
  8. จดบันทึกลักษณะเดียวกับไก่รุ่น

 

 

การเลี้ยงดูไก่ไข่ ( อายุ 21 – 72 สัปดาห์)

                        การเลี้ยงไก่ไข่ระยะนี้เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นระยะที่ไก่ให้ผลผลิต โดยทั่วไปแล้วถ้าการเลี้ยงดูอย่างถูกใจไก่จะเริ่มไข่เมื่ออายุ 20 – 21 สัปดาห์ ไก่จะเริ่มไข่ประมาณ 5% ของฝูง ควรจัดการ ดังนี้

  1. เมื่อไก่เริ่มไข่ได้ 5% ของฝูง ควรเริ่มอาหารของไก่ไข่สาวเป็นไก่ไข่
  2. การให้อาหารต้องเพียงพอกับความต้องการของไก่ และการให้ผลผลิตของไก่
  3. ไก่ไข่จะให้ผลผลิตสูงขึ้นเรื่อยๆ และจะสูงสุดในช่วงอายุ 25 – 30 สัปดาห์ และจะค่อยๆ ลดลงอย่างช้า ๆ
  4. ในกรณีเลี้ยงแบบกรงตับต้องจดบันทึกการไข่ทุกวัน เพื่อสะดวกในการคัดไก่ที่ไม่ให้ไข่ออกจากฝูงหรือถ้าเลี้ยงแบบปล่อยฝูงก็ต้องจดบันทึกจำนวนไข่ทุกวัน เพื่อคิดเปอร์เซ็นต์การไข่
  5. การเก็บไข่ ควรเก็บด้วยความระมัดระวัง ใส่ในแผงไข่ที่สะอาดคัดแยกขนาดไข่และไข่บุบร้าว และเก็บไข่อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง สำหรับการเลี้ยงแบบปล่อยฝูง
  6. หมั่นตรวจดูวัสดุรองพื้นทั้งที่พื้นและในรังไข่ อย่าให้ชื้นแฉะ หรือจับเป็นแผ่นแข็ง หากสกปรกมากควนเปลี่ยนใหม่
  7. ด้านการสุขาภิบาลทำลักษณะเดียวกับไก่รุ่น
  8. ข้อพึงระวังกรณีที่ฝูงไก่กินอาหารลดลงผิดปกติ อาจเกิดจากความเครียดหรือเจ็บป่วย ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ ถ้าแก้ไขเองไม่ได้ควรปรึกษาสัตวแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญทันที การเลี้ยงไก่ไข่ต้องมีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา
  9. การให้ผลผลิตของไก่ไข่ โดยทั่วไปจะให้ไข่ประมาณ 52 สัปดาห์ แต่ในเกษตรกรบางรายสามารถเลี้ยงไก่ไข่ได้นานถึง 60 สัปดาห์ซึ่งอยู่ที่การดูแล การจัดการที่ดี
  10. การปลดไก่ไข่ออก ส่วนใหญ่จะทำเพื่อให้ผลผลิตไม่คุ้มทุน เช่น ให้ผลผลิต่ำกว่า 60%ของฝูง

                       

                        วิธีสังเกตลักษณะของไก่ไข่หรือไม่ไข่อย่างง่าย ๆ

ลักษณะ

ไก่กำลังไข่

ไก่ไม่ไข่

หงอน

ตา

ขอบตา

ปาก

แข้ง

ขน

ก้น

กระดูกเชิงกราน

ใหญ่แดง โตเต็มที่ สดใส

กลมวาว สกใส

บาง ขอบขาว

ซีดแกมขาว

ค่อนข้างขาวและแดง

ไม่เรียบ สกปรก

ขนาดใหญ่ ชุ่มชื้น

กว้าง 2-3 นิ้วมือ

เล็กซีด เป็นขุยสะเก็ด

เซื่องซึม

หนา เหลือง

เหลือง

เหลือง กลม เกลี้ยง

ขนเนียนตัว หรือหลุดร่วง

หดเล็ก กลมแห้ง

แคบกว่า 2 นิ้วมือ

                       

อาหารและการให้อาหารไก่ไข่

อาหารไก่ไข่

                        อาหารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้การเลี้ยงไก่ไข่มีกำไรหรือขาดทุน เนื่องจากต้นทุนการผลิตประมาณ 60-70 เปอร์เซนต์ ของต้นทุนทั้งหมดจะเป็นค่าอาหาร ไก่ไข่นั้นนอกจากจะต้องการอาหารเพื่อการดำรงชีพ การเจริญเติบโตแล้ว ยังต้องนำไปใช้ในการผลิตอีกด้วย โดยจะมีความต้องการอาหารแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงอายุของไก่ การที่ผู้เลี้ยงจะลดต้นทุนการผลิตในส่วนของค่าอาหารลงนั้น สามารถทำได้โดยการประกอบสูตรอาหารที่มีราคาถูก แต่คุณภาพดี เลือกใช้วัถุดิบอาหารสัตว์ที่มีราคาถูกตามฤดูกาลและอาหารแก่ไก่กินอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อให้ได้ไข่ที่มีคุณภาพดีและต้นทุนต่ำ

                        การที่ไก่จะเจริญเติบโตได้ดี มีความแข็งแรงและให้ไข่มาก จำเป็นจะต้องได้กินอาหารที่เพียงพอและกินอาหารได้ดีสม่ำเสมอทุกวัน โดยทั่วไปแล้วอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่จะประกอบด้วยสารอาหาร 6 ประเภท ดังต่อไปนี้

                        1.  โปรตีน โปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการเลี้ยงสัตว์ทุกชนิด ประกอบด้วยกรดอะมิโนชนิดต่างๆ เป็นสารอาหารที่ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย และช่วยในการสร้างและซ่อมแซมรักษาส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ขน เล็บ หนัง กระดูก อวัยวะภายในต่างๆ เม็ดเลือดแดง และเป็นส่วนประกอบของผลผลิต เช่น ไข่ รวมทั้งยังนำไปใช้ในการสร้างเนื้ออีกด้วย โดยปกติแล้วอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่แล้วจะประกอบด้วยโปรตีนประมาณ 13-19 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของไก่

                        2.  คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล มีหน้าที่ให้พลังงาน ให้ความอบอุ่น และช่วยให้ไก่อ้วน คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งในการให้พลังงานแก่ร่างกาย เพื่อนำใช้ในการทำงานของอวัยวะต่างๆ เพื่อการดำรงชีพ การเจริญเติบโต และการให้ผลผลิต เช่น ไข่ ฯลฯ คาร์ดบไฮเดรตถือว่าเป็นอาหารหลัก เพราะคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบในสูตรอาหารไก่ไข่ประมาณ 38-61 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับอายุของไก่ คาร์โบไฮเดรตแบ่งออกเป็น 2 พวกตามลักษณะความยากง่ายในการย่อย คือ น้ำตาลและแป้งกับเยื่อใย แหล่งคาร์โบไฮเดรตส่วนใหญ่ได้มาจากพืช

                        3.  น้ำ น้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกายไก่ ร่างกายไก่มีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ ลูกไก่อายุ 1 วัน มีน้ำเป็นองค์ประกอบ 85 เปอร์เซ็นต์ และจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น น้ำมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกาย เช่น ช่วยในการย่อย การดูดซึม การรักษาระดับความร้อนปกติในร่างกาย และช่วยในการขับถ่ายของเสียออกนอกร่างกาย น้ำนับเป็นสารอาหารที่จำเป็นและมีความสำคัญที่สุด เพราะถ้าไก่ขาดน้ำจะทำให้ไก่ไม่อยากกินอาหารและอาจถึงตายได้ ดังนั้นเกษตรกรจะต้องหาภาชนะใส่น้ำจืดสะอาดตั้งไว้ให้ไก่กินได้ตลอดเวลา หากไก่ขาดน้ำจะแคระแกร็น และการสูญเสียน้ำไปเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของร่างกายจะสามารถทำให้ไก่ตายได้

                        4.  ไขมัน ไขมันเป็นแหล่งให้พลังงานแก่ร่างกายเช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรต แต่ไขมันจะให้พลังงานมากกว่าประมาณ 2 เท่า แลไขมันยังให้กรดไขมันบางชนิดที่จำเป๋นสำหรับร่างกาย ให้ความอบอุ่น ทำให้อ้วน และช่วยเพิ่มความน่ากินของอาหาร ไขมันเป็นสารอาหารที่ได้จากไขมันสัตว์และน้ำมันพืช หารปริมาณไขมันมากเกินไปจะทำให้ร่างกายถ่ายเหลวหรือท้องเสีย ทำให้พื้นเปียกแฉะ วัสดุรองพื้นจะเสียเร็ว

                        5.  วิตามิน วิตามินเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของไก่ ช่วยสร้างความแข็งแรงและความกระปรี้กระเปร่าแก่ร่างกาย สร้างความต้านทานโรค และบำรุงระบบประสาท ร่างกายต้องการวิตามินเพียงเล็กน้อยเพื่อให้ปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกายดำเนินไปตามปกติ แต่เป็นสารอาหารที่ขาดเสียไม่ได้ วิตามินแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามคุณวมบัติในการละลาย คือ วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ ดี อี เค กับวิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินบี และวิตามินซี หากไก่ขาดวิตามินจะทำให้ไก่โตช้าและเป็นโรคขาดวิตามินชนิดนั้นๆ

                        6.  แร่ธาตุ เป็นสารอาหารที่ใช้ในการสร้างโครงกระดูก สร้างความเจริญเติบโต สร้างเลือด สร้างเปลือกไข่ และอื่นๆ ร่างกายสัตว์มีแร่ธาตุเป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว แร่ธาตุที่สำคัญได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม โซเดียม คลอรีน เหล็ก กำมะถัน ไอโอดีน ทองแดง โคบอลต์ แมงกานีส และสังกะสี

 

 

ชนิดของอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่

                        1.  อาหารผสม เป็นอาหารผสมจากวัตถุดิบที่บดละเอียดแล้วหลายๆ อย่างคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยมากจะเติมยาปฎิชีวนะ, วิตามิน, แร่ธาตุ และกรดอะมิโนที่จะเป็นลงไปด้วย อาหารนี้นำไปเลี้ยงไก่ได้ทันทีโดยไม่ต้องเติมอะไรอีก

                        2.  หัวอาหาร เป็นอาหารเข้มข้นที่ผสมจากวัตถุดิบพวกโปรตีนจากพืช สัตว์ ไวตามิน แร่ธาตุ และยาต่างๆ ยกเว้นธัญพืชหรืวัตถุดิบบางอย่างทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมและลดต้นทุนค่าอาหาร แต่ละท้องถิ่นที่มีวัตถุดิบอื่นบางอย่างราคาถูกหรือที่ปลูกเก็บเกี่ยวเอง อาทิเช่น ข้าวฟ่าง ข้าวโพด เมื่อผสมกับอาหารข้นตามอัตราส่วนที่กำหนด ก็จะได้อาหารสมดุลซึ่งมีโภชนะต่างๆ ครบถ้วนตามความต้องการ

                        3.  อาหารอัดเม็ด เป็นการนำอาหารผสมสำเร็จที่อยู่ในรูปของอาหารผสม ได่ผ่านกรรมวิธีการอัดเม็ดก็จะได้อาหารอัดเม็ดขนาดต่างๆ ตามอายุของไก่

                        4.  อาหารเสริม คือ อาหารหรือวัตถุดิบที่เติมไปกับส่วนประกอบต่างๆ ที่จะผสมเป็นอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ เพื่อช่วยเสริมคุณภาพของอาหารนั้นๆ ให้ดีขึ้นและให้เป็นอาหารที่สมดุล

                        สูตรอาหารไก่ไข่ระยะต่างๆ สูตรอาหารไก่ที่ดี หมายถึง การนำเอาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เป็นแหล่งให้สารอาหารต่างๆ ในสัดส่วนที่เหมาะสมมาผสมให้เข้ากัน เพื่อให้ได้สารอาหารต่างๆ ตามที่ไก่ต้องการ ในอัตราส่วนที่สมดุลกันไก่ชอบกิน ไม่เป็นพิษ และไก่สามารถนำไปใช้ในการผลิตเนื้อและไข่ได้อย่างบมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นวัตถุดิบที่ใช้ก็สามารถหาได้ง่าย และราคาไม่แพงอีกด้วย

                        สูตรอาหารไก่ไข่ระยะต่างๆ ที่ผลิตโดยกองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ ดังต่อไปนี้ มีหลายสูตรด้วยกัน

เป็รนการเลือกใช้จากวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีอยู่มากและนิยมใช้กันมาก ในการเลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งนั้นควรพิจารณาจากวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีอยู่มากในท้องถิ่น พอจะหาซื้อได้ง่ายและนราคาถูกเป็นหลัก ในการเลือกใช้สูตรอาหารนั้น

  1. ไก่ไข่เล็ก จตั้งแต่อายุแรกเกิดจนถึง 6 สัปดาห์ ต้องการอาหารที่มีโปรตีนประมาณ 19

เปอร์เซ็นต์

  1. ไก่ไข่รุ่น ตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์ถึงอายุ 14 สัปดาห์ ต้องการอาหารที่มีโปรตีนประมาณ 16

เปอร์เซ็นต์

  1. ไก่ไข่สาวก่อนไข่ ตั้งแต่อายุ 14 สัปดาห์จนถึงอายุ 20 สัปดาห์ต้องการอาหารที่มีโปรตีนประมาณ 13 เปอร์เซ็นต์
  2. ไก่ไข่ระยะให้ไข่ ตั้งแต่อายุ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ต้องการอาหารที่มีโปรตีนประมาณ 16 เปอร์เซ็นต์

 

สูตรอาหารไก่ไข่เล็ก (อายุแรกเกิด – 6 สัปดาห์)

 

วัตถุดิบอาหารสัตว์ (กก.)

สูตรที่ 1

สูตรที่ 2

สูตรที่ 3

สูตรที่ 4

ปลายข้าว

ข้าวโพด

ข้างฟ่าง

มันเส้น

รำละเอียด

กากถั่วเหลือง

ปลาป่น

ไดแคลเซียมฟอสเฟต

เกลือ

พรีมิกซ์ไก่ไข่เล็ก

56

-

-

-

12

22

8

1

0.5

0.5

-

61.2

-

-

10

18.8

8

1

0.5

0.5

-

-

59.3

-

12

18.7

8

1

0.5

0.5

-

-

-

46.2

15

26.8

10

1

0.5

0.5

 

รวม

100

100

100

100

 

 

 

 

 

สูตรอาหารไก่ไข่รุ่น (อายุ 6-14 สัปดาห์)

 

วัตถุดิบอาหารสัตว์ (กก.)

สูตรที่ 1

สูตรที่ 2

สูตรที่ 3

สูตรที่ 4

ปลายข้าว

ข้าวโพด

ข้างฟ่าง

มันเส้น

รำละเอียด

กากถั่วเหลือง

ปลาป่น

เปลือกหอย

ดีแอล-เมธไธโอนีน

เกลือ

พรีมิกซ์ไก่ไข่รุ่น

51.5

-

-

-

29

10

8

0.5

-

0.5

0.5

-

58.3

-

-

25

7.2

8

0.5

-

0.5

0.5

-

-

56.4

-

27

7.1

8

0.5

0.05

0.5

0.5

-

-

-

46.6

26

18.1

8

0.3

0.05

0.5

0.5

รวม

100

100

100

100

 

สูตรอาหารไก่สาว (อายุ 14-20 สัปดาห์)

วัตถุดิบอาหารสัตว์ (กก.)

สูตรที่ 1

สูตรที่ 2

สูตรที่ 3

สูตรที่ 4

ปลายข้าว

ข้าวโพด

ข้าวฟ่าง

มันเส้น

รำละเอียด

ใบกระถินป่น

กากถั่วเหลือง

ปลาป่น

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


kruvassanun

สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
การงานอาชีพและเทคโนโลยี