การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก

การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก


การเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นรอบๆตัวเรามีปัจจัยที่ทำให้เปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุและมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม

การเปลี่ยนแปลง(แปรรูป) ของเปลือกโลก Diformation

แบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่

1.การเปลี่ยนแปลงเคลื่อนที่แบบรวดเร็วฉับพลัน (abrupt movements)

มักเกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง จนทำให้เปลือกโลกจมตัวลงเป็นบริเวณกว้าง หรือเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งหรือเคลือนที่ออกจากกันในแนวราบทำให้เกิดลุ่มน้ำขัง (swamps) หรือทะเลสาป เช่น ที่ราบลุ่มในภาคเหนือของประเทศไทย หรือที่ราบลุ่มตอนกลางที่เรียกว่าที่ราบลุ่มเจ้าพระยาของไทย 

2. การเปลี่ยนแปลงหรือเคลื่อนที่อย่างช้าๆ (slow movemants) 

แผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่อย่างช้า ๆ เช่น แผ่นเปลือกโลกแปซิฟิคเคลื่อนที่ไปทางทิศเหนือ 5 เซนติเมตร/ปี เฉลี่ยทั้งโลก 5 – 8 เซนติเมตร/ปี

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการกระทำของธรรมชาติ 

แรงจากภายในเปลือกโลก เรียกกระบวนการ เทคโทนิก เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ เทคโทนิก มี 2 กระบวนการคือ

  1. ไดแอสโตรฟิซึม (diastrophism) เป็นกระบวนการแตก หัก โก่ง งอ บิด ของเปลือกโลก เกิดขึ้นอย่างช้าๆ เกิดจากการยืดหดตัวของเปลือกโลกทั้งหมด เช่นการเลื่อนตัวของเปลือกโลก (fault) ทำให้เกิดรอยแตกร้าวที่อยู่แนวตั้งเรียก รอยต่อ (Joint) รอยแตกจะเหลือน้อยเมื่อลงไปในระดับลึก แรงกดที่ทำให้เปลือกโลกแตกและเลื่อนทำให้ชั้นของหินเปลือกโลกสลับกัน 
    - ถ้ารอยเลื่อนขนาบหุบเขาที่ 2 ข้างส่วนที่ยุบลงเป็นหุบเขาเรียกว่า “กราเบน” (graben) 
    - ถ้า ส่วนที่ยกตัวขึ้น ขนาบทั้ง 2 ข้างด้วยรอยเลื่อนส่วนที่ดันตัวสูงขึ้นเรียก“ฮอร์ส” (horst) การโก่งตัวของเปลือกโลก(fold) การบีบอัดทำให้เปลือกโลกโก่ง พับ งอ ส่วนที่โค้งขึ้นเรียกประทุนคว่ำ (anticline) ส่วนที่โก่งเรียกประทุนหงาย (syncline)

ภาพ รอยคดโค้ง                                             ภาพรอยเลื่อน

2. วอลคานิสซึม (volcanism) เป็นกระบวนการของวัตถุละลายภายในโลกเคลื่อนที่ ทำให้เปลือกโลกสั่นเสทือน วัตถุละลายล้นไหลออกมาทับถมภายนอกเปลือกโลกเช่น หินละลายเคลื่อนที่มายังเปลือกโลกดันออกมาเกิดภูเขาไฟระเบิดพ่นลาวาออกมาหรือหินบะซอลต์ไหลออกมาดันตัวแข็งอยู่ใต้เปลือกโลกคล้ายกำแพงเรียก ไดค์(dike)ถ้าดันตัวออกมาเป็นบริเวณกว้างทำให้บริเวณนั้นถูกยกตัวด้วยเรียก แลคโคลิธส์ (laccoliths) หินละลายที่ดันตัวถูกยกตัวแข็งตัวอย่างช้าๆใต้เปลือกโลกทำให้หินชั้นที่สัมผัสกับหินละลายได้รับความร้อนและแรงบีบกลายเป็นหินแปร แร่ที่ อยู่ในหินละลายตกผลึกจึงพบแร่มีค่าในบริเวณที่หินละลายดันตัวขึ้นมา แผ่นดินไหวเป็นผลจากแรงภายในโลกทำให้เปลือกโลกสั่นสะเทือน

ผลที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก 

แผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่เป็นไปอย่างช้าๆ ด้วยอัตราเร็วที่ต่ำมาก แต่มีแรงดันอย่างมหาศาล ทำให้ขอบอีกด้านหนึ่งของแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่เข้าไปชนกับขอบแผ่นเปลือกโลกอีกแผ่นหนึ่ง เช่น แผ่นออสเตรเลีย เคลื่อนที่เข้าชนแผ่นยูเรเซีย การชนกันของแผ่นเปลือกโลกทั้งสองนี้ ทำให้บางบริเวณเกิดการเปลี่ยนแปลง คือแผ่นออสเตรเลียมุดตัวเข้าสู่ใต้แผ่นยูเรเซีย และมุดหายไปในส่วนแมนเทิลของโลกที่มีความร้อนสูงจึงทำให้เกิดการหลอมตัวของหินเปลือกโลก นอกจากนั้นการชนของแผ่นออสเตรเลีย และแผ่นยูเรเซียนี้ยังส่งผลให้เปลือกโลกบางส่วนถูกดันตัวขึ้นกลายเป็นภูเขาสูง เช่น บริเวณเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย

ที่มา 
http://chontita112.wordpress.com

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


krupat

สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์