โมฆะโมฆียะ

โมฆะและโมฆียะCool
  โมฆะและโมฆียะ เป็นคำกฎหมายที่คนส่วนใหญ่ได้ยิน แต่มักไม่รู้ความหมายและความแตกต่างของทั้งสองคำนี้

   โมฆะแปลว่าเสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย เช่น สัญญาเป็นโมฆะ
และเมื่ออธิบายคำว่าโมฆะแล้ว ขอกล่าวถึงคำว่าโมฆกรรม ที่แปลว่านิติกรรมที่เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย ไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ และผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่ง จะยกความเสียเปล่าขึ้นกล่าวอ้างก็ได้ เช่น การที่บุคคลทำสัญญาซื้อขายยาบ้าแก่บุคคลอื่น ซึ่งเป็นสัญญาที่ขัดต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญานั้นตกเป็นโมฆะ
     โมฆียะ แปลว่าอาจเป็นโมฆะได้เมื่อมีการบอกล้าง หรือมีผลสมบูรณ์ เมื่อมรการให้สัตยาบัน และเมื่อกล่าวถีงโมฆียะแล้ว ขออธิบายคำว่า โมฆียกรรม ซึ่งแปลว่านิติกรรมที่อาจบอกล้าง เพิกถอน หรือให้สัตยาบันได้ ถ้าบอกล้างก็เป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ถ้าให้สัตยาบันก็มีผลสมบูรณ์แต่เริ่มแรก อธิบายเข้าใจง่ายๆ คือ นิติกรรมที่เป็นโมฆียนั้น เป็นนิติกรรมที่กระทำโดยผู้มีสิทธิ แต่สิทธิ์นั้นยังไม่สมบูรณ์ อาจเป็นเพราะด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น ด้วยความอ่อนอายุ ด้วยความไร้ความสามารถตามคำสั่งศาล แต่อาจจะสมบูรณ์ได้โดยการให้สัตยาบัน ซึ่งคือการรับรองโดยผู้มีอำนาจ เช่น การที่เด็กหรือผู้เยาว์ทำนิติกรรมซื้อขายทรัพย์สินเกินฐานานุรูปของตนเอง เป็นต้นว่า ไปทำสัญญาซื้อขายบ้านหรือรถยนต์กับบุคคลภายนอก โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองของผู้เยาว์ก่อน สัญญาซื้อขายนั้นก็เป็นโมฆียกรรม ทั้งนี้ถ้าผู้ปกครองให้สัตยาบันก็ถือว่านิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์มาตั้งแต่เริ่มแรก แต่ถ้าผู้ปกครองบอกล้างหรือไม่ให้สัตยาบัน โมฆกรรมนั้น ก็จะเป็นโมฆะมาตั้งแต่ต้น

ความแตกต่างระหว่างโมฆกรรม และ โมฆียกรรม

1. โมฆกรรมคุ้มครองส่วนได้เสียของประชาชน ส่วนโมฆียกรรม คุ้มครอง
    ส่วนได้ส่วนเสียของคู่กรณี

2. โมฆกรรมเป็นนิติกรรมที่เสียเปล่า ใช้ไม่ได้มาแต่ต้น เสมือนมิได้ทำ
    นิติกรรมนั้น
ขึ้นเลย ส่วนนิติกรรมที่เป็นโมฆียะใช้บังคับได้จนกว่าจะถูกบอก
    ล้าง

3.โมฆกรรมไม่ต้องบอกล้าง เพราะเป็นโมฆะอยู่ในตัวแล้ว ส่วนโมฆียกรรมต้องบอกล้างจึงจะตกเป็นโมฆะ ถ้ายังไม่บอกล้าง ยังไม่เป็นโมฆะ
4. โมฆกรรมนั้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนยกขึ้นกล่าวอ้างได้ ส่วนโมฆียกรรม
    กฎหมายกำหนดบุคคลผู้มีสิทธิ์บอกล้างตามที่ระบุไว้ในมาตรา 175
5. โมฆกรรม ให้สัตยาบันไม่ได้ ส่วนโมฆียกรรมให้สัตยาบันได้
6. โมฆกรรม ไม่มีกำหนดเวลายกขึ้นกล่าวอ้าง ส่วนโมฆียกรรม มีกำหนดเวลา
   บอกล้าง ตามมาตรา 181
7. โมฆกรรม เรียกคืนทรัพย์สินฐานลาภมิควรได้ ส่วนโมฆียกรรมคู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม ตามมาตรา 176

Content's Picture

Comment(s)


Vote this Content ?

Create by :


krutum

Status : ผู้ใช้ทั่วไป
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม