ปริมาณและหน่วยทางฟิสิกส์


ใบความรู้ที่ 1

 

เรื่อง    วิชาฟิสิกส์   ปริมาณและหน่วยทางฟิสิกส์

1. ความหมายของวิทยาศาสตร์ 

           วิทยาศาสตร์  ( Science )  หมายถึง  การศึกษาหาความจริงเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์ธรรมชาติรอบๆตัวเรา ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต  อย่างมีขั้นตอนและระเบียบแบบแผน วิทยาศาสตร์แบ่งออกได้ดังนี้

           1.1  วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ( pure  science )  หรือ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ( natural  science )

เป็นการศึกษาหาความจริงใหม่ๆ เกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ  เพื่อนำไปสู่กฎเกณฑ์และทฤษฎีต่างๆทางวิทยาศาสตร์ เช่น กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน  กฎของโอห์ม  ทฤษฎีสัมพัทธภาพของของไอน์สไตน์  ทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของแมกซ์เวลล์  เป็นต้น  วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์แบ่งออกเป็น 2 สาขาคือ

           ก.  วิทยาศาสตร์กายภาพ ( physical  science )  ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งไม่มีชีวิต  เช่น  ฟิสิกส์  เคมี  ดาราศาสตร์  ธรณีวิทยา  เป็นต้น

           ข.   วิทยาศาสตร์ชีวภาพ  ( biological  science )  ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต  เช่น พฤกษศาสตร์  สัตวศาสตร์  เป็นต้น

 

           1.2   วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ( applied  science )  เป็นการนำความรู้จากกฎเกณฑ์หรือทฤษฎีของวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ มาประยุกต์เป็นหลักการทางเทคโนโลยี  เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคม เช่น วิศวกรรมศาสตร์  แพทยศาสตร์  สถาปัตยกรรมศาสตร์  เป็นต้น

 

 

2.   การค้นคว้าหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์

           การค้นคว้าหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์   ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นการค้นคว้าหาความจริงจากปรากฎการณ์ธรรมชาติ  ซึ่งสามารถทำได้ 3 แนวทางคือ

  1. จากการสังเกตปรากฏการณ์ธรรมชาติ
  2. จากการทดลองในห้องปฏิบัติการ
  3. จากการสร้างแบบจำลอง ( model )  ทางความคิด

3.   ฟิสิกส์

           เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาธรรมชาติของสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา การค้นคว้าหาความรู้ทางฟิสิกส์ทำได้โดยการสังเกต การทดลอง และการเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อสรุปผลเป็นทฤษฎี หลักหรือกฎ ความรู้เหล่านี้ สามารถนำไปใช้อธิบายปรากฎการณ์ธรรมชาติ หรือทำนายสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตและความรู้นี้สามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ใหม่เพิ่มเติม และพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์

           ความสำคัญของการศึกษาทางด้านฟิสิกส์ คือข้อมูลที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกฎและทฤษฎีที่มีอยู่เดิม ข้อมูลที่ได้นี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

           ข้อมูลเชิงคุณภาพ ( qualitative  data )  เป็นข้อมูลที่ไม่เป็นตัวเลข  ได้จากการสังเกตตามขอบเขตของการรับรู้ เช่น รูปร่าง  ลักษณะ  กลิ่น  สี  รส เป็นต้น

           ข้อมูลเชิงปริมาณ ( quantitative  data )  เป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลข  ได้จากการวัดปริมาณต่างๆโดยใช้เครื่องมือวัดและวิธีการวัดที่ถูกต้อง เช่น มวล  ความยาว  เวลา  อุณหภูมิ  เป็นต้น

4.   เทคโนโลยี

           เป็นวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ ในการสร้าง การผลิต หรือการใช้อุปกรณ์ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์กับมนุษย์โดยตรง

 5.   ระบบหน่วยระหว่างชาติ

           ในสมัยก่อนหน่วยที่ใช้สำหรับวัดปริมาณต่างๆ  มีหลายระบบ  เช่น  ระบบอังกฤษ  ระบบเมตริกและระบบของไทย  ทำให้ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน  ดังนั้นปัจจุบันหลายๆประเทศ   รวมทั้งประเทศไทยด้วยได้ใช้หน่วยสากลที่เรียกว่า  ระบบหน่วยระหว่างชาติ  ( The  Internation  System  of  Unit  )  เรียกย่อว่า  ระบบเอสไอ  (  SI Units ) ซึ่งประกอบด้วยหน่วยฐาน  และหน่วยอนุพัทธ์  ดังนี้

           5.1  หน่วยฐาน ( base  unit ) เป็นปริมาณหลักของระบบหน่วยระหว่างชาติ  มี 7 ปริมาณ ดังนี้

 

ปริมาณฐาน

ชื่อหน่วย

สัญลักษณ์

ความยาว

เมตร

m

มวล

กิโลกรัม

kg

เวลา

วินาที

s

กระแสไฟฟ้า

แอมแปร์

A

อุณหภูมิอุณหพลวัติ

เคลวิน

K

ปริมาณฐาน

ชื่อหน่วย

สัญลักษณ์

ปริมาณสาร

โมล

mol

ความเข้มของการส่องสว่าง

แคนเดลา

cd

 

           5.2  หน่วยอนุพัทธ์  ( derived  unit )  เป็นปริมาณที่ได้จากปริมาณฐานตั้งแต่ 2 ปริมาณขึ้นไปมาสัมพันธ์กัน  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ปริมาณอนุพัทธ์

ชื่อหน่วย

สัญลักษณ์

เทียบเป็นหน่วยฐาน

และอนุพัทธ์อื่น

ความเร็ว

เมตรต่อวินาที

m/s

1 m / s  = 

ความเร่ง

เมตรต่อวินาที2

m /s2

1 m / s2 =  

แรง

นิวตัน

N

1 N  =  1 kg. m /s2 

งาน  พลังงาน

จูล

J

1 J  =  1 N.m

กำลัง

วัตต์

W

1 W  =  1 J /s

ความดัน

พาสคาล

Pa

1 Pa  =  1  N / m2 

ความถี่

เฮิรตซ์

Hz

1 Hz  =  1 s – 1 

 

6.  การบันทึกปริมาณที่มีค่ามากหรือน้อย

           ผลที่ได้จากการวัดปริมาณทางวิทยาศาสตร์  บางครั้งมีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่า 1  มากๆทำให้เกิดความยุ่งยากในการนำไปใช้งาน  ดังนั้น การบันทึกปริมาณดังกล่าว  เพื่อให้เกิดความสะดวกในการนำไปใช้สามารถทำได้ 2 วิธี  คือ

           6.1  เขียนให้อยู่ในรูปของจำนวนเต็มหนึ่งตำแหน่ง   ตามด้วยเลขทศนิยม  แล้วคูณด้วยเลขสิบยกกำลังบวกหรือลบ ดังนี้

 

                                     

 

 

ตัวอย่าง  จงเขียนปริมาณต่อไปนี้ในรูปเลขยกกำลัง

           ก.   360,000,000  เมตร                  ข.    6,539,000   กิโลเมตร

           ค.   0.00048   กิโลกรัม                 ง.    0.00127  วินาที

วิธีทำ     ก.   360,000,000  เมตร                 

                                                =        360,000,000

                                                =        3.6x108   เมตร

           ข.    6,539,000   กิโลเมตร     =        7,539,000  

                                                =        6.5x106    กิโลเมตร

           ค.   0.00038   กิโลกรัม                   =        0.00038

                                                =        3.8x10 – 4  กิโลกรัม

           ง.    0.00117  วินาที            =        0.00117

                                                =        1.17x10- 5   วินาที

               6.2  เขียนโดยใช้คำ “อุปสรรค ( prefix)”

คำอุปสรรค  คือ คำที่ใช้เติมหน้าหน่วย SI   เพื่อทำให้หน่วย SI  ใหญ่ขึ้นหรือเล็กลง  ดังแสดงในตาราง

 

คำอุปสรรค

สัญลักษณ์

ตัวพหุคูณ

คำอุปสรรค

สัญลักษณ์

ตัวพหุคูณ

เทอรา

T

10 12

พิโค

 P

10 -12

จิกะ

G

10 9

นาโน

 n

10 - 9

เมกะ

M

10 6

ไมโคร

m

10 – 6

กิโล

 k

10 3

มิลลิ

 m

10 – 3

เฮกโต

 h

10 2

เซนติ

 c

10 – 2

เดคา

 da

10

เดซิ

d

10 - 1

 

ตัวอย่าง  จงเขียนปริมาณต่อไปนี้  โดยใช้คำอุปสรรค

           ก.  ความยาว  12  กิโลเมตร   ให้มีหน่วยเป็น  เมตร

           ข.  มวล  0.00035  เมกะกรัม  ให้มีหน่วยเป็น   มิลลิกรัม

วิธีทำ    

           ก.  เปลี่ยน   กิโล  ® เมตร

ข. เปลี่ยน   เมกะ  ® กิโล  ® กรัม ® มิลลิ

           =   12 x 10 3  

           =  0.00035 x 10 3 x 10 3  x 10 3

           =   1.2 x 10 4  เมตร

           =  0.00035 x 10 9

 

           =  ( 3.5 x 10 – 4 ) x 10 9

 

           =  3.5 x 10 5   มิลลิกรัม

 

          

######################

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


Ksupajin

สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์